
องค์การสหประชาชาติ (UN) ประมาณการว่าประชากรโลกมีจำนวนราว ๆ 7,300 ล้านคน โดย Zocial, inc. ได้ระบุว่าในโลกของ Facebook มีประชากรเกย์ทั้งโลกรวมกันทั้งหมดกว่า 15.4 ล้านคน นำโดยอินเดีย (3 ล้านคน) สหรัฐอเมริกา (760,000 คน) และอียิป (640,000 คน) ตามลำดับ ในขณะที่ประเทศไทยมีประชากรเกย์เป็นอันดับที่ 8 (340,000 คน)

Fetish หรือที่แปลเป็นไทยว่า “ความใคร่เฉพาะจุด” หลายคนอาจเคยเห็นคำนี้ผ่านตามาบ้างจากการจัดหมวดหมู่ประเภทของหนังโป๊ แต่ความหมายของคำนี้ถูกแตกแขนงออกเป็นอีกหลายสายซึ่งมีความหมายย่อยที่แตกต่างกัน

“...ผมสัมผัสได้ว่ามีอะไรมาโดนเป้ากางเกง แต่คิดว่าเป็นกระเป๋า จนกระทั่งสิ่งนั้นมันเสียดสีต่อเนื่อง เหมือนว่าโดนลูบเป้าอยู่ก็เลยเบี่ยงตัวหันข้าง แต่ด้วยสภาพแออัดบนเรือโดยสารเวลา 5 โมงเย็นหลังเลิกงาน ทำให้ขยับหนีไม่ได้มาก พอลงเรือก็ถูกเดินตามจนต้องรีบขึ้นรถกลับบ้านทันที ผมไม่คิดว่าจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้เพราะผมเป็นผู้ชาย และอีกฝ่ายก็เป็นผู้ชายเหมือนกัน...”

การที่เกย์สักคนจะอยู่ในสังคมโดยไม่มีใครรู้ หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า "แอบ" ย่อมก่อให้เกิดความอึดอัด และกดดันภายในตัวเอง แม้ว่าสังคมไทยจะเปิดกว้างในเรื่องของรสนิยมทางเพศ แต่ด้วยวัฒนธรรมของแต่ละบ้านไม่เหมือนกัน ทำให้หลายคนยังต้องจำใจปกปิดมันเอาไว้ในใจและใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางเพศภาวะที่สังคมคาดหวัง

เกย์ส่วนใหญ่จะเปิดเผยตัวเองในโลกอินเทอร์เน็ตมากกว่าในโลกแห่งความจริง เพราะเกย์จะเปิดเผยตนเองในทุกพื้นที่ที่ตนเองมีความรู้สึกว่าปลอดภัย หรือไว้วางใจจากบุคคลรอบข้างในพื้นที่เหล่านั้น

แม้ว่าทุกวันนี้สังคมไทยจะเปิดกว้างในเรื่องของเส้นแบ่งทางเพศที่ไม่จำกัด แต่ก็ยังมีหลายคนที่มีมายาคติเดิม ๆ โดยใช้มุกเหยียดเพศในวงสนทนาเพื่อเรียกเสียงเฮฮาจากฝูงชน แต่จากการศึกษาพบว่า ผู้ชายที่ขาดความมั่นใจ มักใช้มุกเหยียดเพศเพื่อให้ตัวเองแมนขึ้น

เคยไหมที่เราอยากรู้ว่าคนที่เราคุยด้วยอยู่ออกสาวหรือไม่ แล้วอยากรู้ไหมว่าเกย์หล่อล่ำที่เพิ่งเดินผ่านไปสาวรึเปล่า แล้วถ้าเจอคำถามจากคู่สนทนาถามว่า “นายสาวไหม” คุณจะตอบอย่างไร ตอบว่าแมน หรือไม่สาว แล้วสาวแค่ไหนถึงจะเรียกว่าสาว เกย์ที่แสดงออกแบบตุ้งติ้งถูกเหมารวมว่าสาวทั้งหมด จนทำให้หลายคนเลือกที่จะแอ๊บแมนจริงหรือไม่

คนในสังคมมักมองความหลากหลายทางเพศ คือกลุ่มคนที่ชอบเพศเดียวกัน แต่ที่จริงแล้วไม่ว่าผู้ชาย ผู้หญิง ชายรักชาย หญิงรักหญิง เกย์ กะเทย ทอม ดี้ ก็คือความหลากหลายทางเพศเช่นเดียวกัน

ในปัจจุบันหลายคนมองว่าความหลากหลายทางเพศได้รับการยอมรับในสังคมแล้ว แต่จากสถานการณ์เกี่ยวกับการเหยียดเพศยังคงสะท้อนให้เห็นถึงมายาคติที่หลายคนยังเข้าใจผิด ทำให้เราต้องกลับมาย้อนดูว่าจริงๆ แล้ว บุคคลหลากหลายทางเพศ ถูกยอมรับแล้วจริงหรือ...?