
กรุงเทพมหานครมีนโยบายที่จะพัฒนาพื้นที่รกร้างให้กลายเป็นพื้นที่สุขภาวะ โดยมุ่งสร้างให้แต่ละเขตของกทม. มีพื้นที่สุขภาวะอย่างน้อย 1 แห่ง ซึ่ง “สวนพื้นที่สุขภาวะแห่งการเรียนรู้” แห่งนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง สสส. กทม. ม.สยาม และเขตในพื้นที่ และที่สำคัญคือ ประชาชนในพื้นที่ที่ช่วยกันพัฒนาสวนแห่งนี้ให้กลายเป็นพื้นที่สุขภาวะอย่างสมบูรณ์แบบ

จากพื้นที่ที่ไม่มีใครเหลียวแล มีเพียงขยะกองโตเป็นภัยอันตรายของชุมชน แต่ด้วยการพัฒนาที่ไม่มีวันสิ้นสุด เป็นจุดสะท้อนความเข้มแข็งของการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และภาคีเครือข่าย พื้นที่แห่งนี้ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง และในที่สุดได้กลายเป็น “สวนพื้นที่สุขภาวะแห่งการเรียนรู้”

“อยู่ข้างนอกไม่ได้สบาย ตัวใครตัวมัน ใครป่วยตายก็ตัวใครตัวมัน แต่พอมาอยู่ภายใต้ชายคาเดียวกันก็เหมือนเป็นครอบครัว เกิดเป็นความเอื้ออาทร เอื้อเฟื้อต่อกัน เลยเป็นพี่เป็นน้อง และทำให้ความเป็นอยู่ดีกว่าตอนที่อยู่ข้างนอก”

กลุ่มคนที่ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะหลายคนอาจมองว่าเป็นผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต แต่แท้จริงแล้วพวกเขาเหล่านั้นเป็นคนปกติที่ประสบกับปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาครอบครัว ฯลฯ จนทำให้ออกจากบ้านมาเพื่อเผชิญกับโลกเพียงลำพัง

การสร้างบ้านบนพื้นที่ 330 ตารางวา อาจจะไม่ได้กว้างขวางมากนัก แต่สำหรับกลุ่มคนไร้บ้านที่ไม่มีที่อยู่อาศัย พื้นที่ขนาดนี้สามารถเติมเต็มความฝัน และฟื้นฟูจิตใจให้พวกเขาสามารถยืนหยัดต่อไปในสังคมได้

จากปัญหาสุขภาพกายที่รุมเร้า ที่เกิดจากการไม่ค่อยดูแลตัวเอง จัดระเบียบชีวิตไม่ดี พักผ่อนน้อย และยังไม่เคยตรวจสุขภาพประจำปี ส่งผลให้ป่วยหนัก เช่น ไตเสื่อม น้ำท่วมปอด ก้านหัวใจโต และนิ่วในถุงน้ำดี จนถูกหามส่งโรงพยาบาลด้วยสภาพผอมซูบจนแทบไม่มีใครจำได้

แม้ว่าฟุตบอลโลกจะจบลงไปแล้ว แต่การทำงานเพื่อหยุดพนันยังต้องดำเนินการต่อไป เนื่องจากผลกระทบของปัญหาที่เกิดขึ้น ที่ไม่ได้เกิดขึ้นในช่วงของเทศกาลฟุตบอลโลกเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีปัญหาที่เกี่ยวกับการพนันอื่น ๆ ที่ยังต้องช่วยกันรณรงค์ให้คนไทยตระหนักถึงปัญหาที่แท้จริง

‘กีฬา ๆ เป็นยาวิเศษ แก้กองกิเลสทำคนให้เป็นคน’ กีฬาฟุตบอลถือเป็นหนึ่งกีฬาที่คนทั่วโลกให้ความสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อถึงเทศกาลฟุตบอลโลกที่แฟนกีฬาทุกคนรอคอย และติดตามผลการแข่งขันมากมาย แต่ภัยร้ายที่แฝงมากับเทศกาลใหญ่นั่นคือการพนัน ที่จะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา

สาเหตุของผู้เสียชีวิตในประเทศไทยสามอันดับแรก ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ และอุบัติเหตุ แต่อุบัติเหตุเกิดขึ้นกับคนวัยหนุ่มสาว โดยเฉพาะกับเพศชาย และ 1 ใน 3 กลายเป็นผู้พิการ ซึ่งเกือบครึ่งของผู้พิการเป็นหัวหน้าครอบครัว ทำให้ปัญหาจากอุบัติเหตุจึงหนักไม่แพ้โรคเรื้อรังที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ

เพราะคนไทยไร้สิทธิไม่ใช่แรงงานข้ามชาติ แต่เป็นคนไทยที่ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน และทำให้เข้าไม่ถึงสิทธิต่าง ๆ ที่ตนเองพึงมี