ทำความเข้าใจชีวิตของ “คนไร้บ้าน”

“อยู่ข้างนอกไม่ได้สบาย ตัวใครตัวมัน ใครป่วยตายก็ตัวใครตัวมัน แต่พอมาอยู่ภายใต้ชายคาเดียวกันก็เหมือนเป็นครอบครัว เกิดเป็นความเอื้ออาทร เอื้อเฟื้อต่อกัน เลยเป็นพี่เป็นน้อง และทำให้ความเป็นอยู่ดีกว่าตอนที่อยู่ข้างนอก”

“อยู่ข้างนอกไม่ได้สบาย ตัวใครตัวมัน ใครป่วยตายก็ตัวใครตัวมัน แต่พอมาอยู่ภายใต้ชายคาเดียวกันก็เหมือนเป็นครอบครัว เกิดเป็นความเอื้ออาทร เอื้อเฟื้อต่อกัน เลยเป็นพี่เป็นน้อง และทำให้ความเป็นอยู่ดีกว่าตอนที่อยู่ข้างนอก”

• • • กลับสู่หน้าหลัก • • •

นายสุชิน เอี่ยมอินทร์ นายกสมาคมคนไร้บ้าน เล่าจุดเริ่มต้นของตนเองว่า เดิมทีตนประกอบอาชีพเป็นลูกจ้างชั่วคราว แต่โดนนายจ้างกลั่นแกล้งจึงตกงาน จึงพักอาศัยกับพี่น้อง แต่ด้วยความที่ตนเป็นพี่คนโตจึงไม่ต้องการเป็นภาระของน้อง ๆ เลยตัดสินใจออกมาใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่สาธารณะแถวสนามหลวง

ต่อมาได้เข้าร่วมกับศูนย์คนไร้บ้านแห่งแรกที่ตลิ่งชัน จนพี่น้องคนไร้บ้านยกให้เป็นตัวแทนเพื่อพูดคุยกับรัฐบาลในการผลักดันเพื่อก่อสร้างศูนย์คนไร้บ้านที่บางกอกน้อย และต่อมาต้องการขยายศูนย์คนไร้บ้านไปช่วยเหลือคนไร้บ้านทั่วประเทศจึงจัดทีมที่เรียกว่า “การเดินกาแฟ” เพื่อสำรวจพื้นที่ในจังหวัดใหญ่ 3 ภาค ได้แก่ ภาคตะวันออก ภาคเหนือ และภาคใต้ จึงพบว่าจังหวัดเชียงใหม่มีคนไร้บ้านมากถึง 166 คน จึงต้องการผลักดันให้เกิดศูนย์คนไร้บ้านที่จังหวัดเชียงใหม่จนสำเร็จและกลายเป็นบ้านเตื่อมฝันในทุกวันนี้ แต่การจะทำสัญญาก่อสร้างจะต้องจดทะเบียนนิติบุคคล ทำให้ต้องก่อตั้งสมาคมคนไร้บ้านขึ้น และพี่น้องได้ลงความเห็นให้ตนเป็นนายกสมาคมคนไร้บ้านในที่สุด

นายนรินทร์ เอื้ออมรรัตน์ ประธานเครือข่ายคนไร้บ้าน จังหวัดเชียงใหม่ เล่าถึงชีวิตของการเป็นคนไร้บ้านว่า หลังจากใช้ชีวิตอยู่ที่กรุงเทพฯ มาได้ 40 กว่าปี ก็ตัดสินใจออกจากบ้านมาเชียงใหม่ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับพี่น้อง ซึ่งก็ไม่ได้ร่ำรวยอะไร ตนพยายามหาอาชีพที่เหมาะสมในการสร้างรายได้ของตนเอง แต่มองไม่เห็นอนาคต

ต่อมาได้พบกับกลุ่มคนไร้บ้านจาก กทม.ที่ประสบความสำเร็จในเรื่องของที่อยู่อาศัย จึงเข้ามาร่วมกับเครือข่ายคนไร้บ้าน เพราะมองว่าจะต้องเข้าสังคมเพื่อให้ตนเองก้าวหน้าและมีอนาคต

“สังคมเครือข่ายของคนไร้บ้านทำให้ผมเจริญเติบโตขึ้น มีวุฒิภาวะทางความคิด มีอาชีพที่เป็นที่ยอมรับ และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จากวันนั้นถึงวันนี้เป็นเวลา 11 ปีที่ไม่คิดว่าจะเกิดขึ้น และการเปิดศูนย์ฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพคนไร้บ้านเชียงใหม่จะเป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์” นายนรินทร์ ทิ้งท้ายด้วยความซาบซึ้ง

จำนวนคนไร้บ้านจะไม่เพิ่มขึ้น หากเราใส่ใจดูแลคนในบ้าน และป้องกันไม่ให้คนในครอบครัวออกมาใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ อย่างไรก็ตาม การมีพื้นที่ปลอดภัยเพื่อใช้ในการอาศัยอยู่เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของมนุษย์ ซึ่งต้องมีที่อยู่อาศัยเพื่อปกป้องร่างกายจากอันตรายต่างๆ ศูนย์ฟื้นฟูสำหรับคนไร้บ้านจึงเป็นสถานที่รองรับเพื่อให้พวกเขาสามารถนอนหลับได้อย่างสบายใจ

• • • กลับสู่หน้าหลัก • • •

เรื่องโดย ปรภ ไม่ใช่ รปภ

%d bloggers like this: