กรุงเทพมหานครมีนโยบายที่จะพัฒนาพื้นที่รกร้างให้กลายเป็นพื้นที่สุขภาวะ โดยมุ่งสร้างให้แต่ละเขตของกทม. มีพื้นที่สุขภาวะอย่างน้อย 1 แห่ง ซึ่ง “สวนพื้นที่สุขภาวะแห่งการเรียนรู้” แห่งนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง สสส. กทม. ม.สยาม และเขตในพื้นที่ และที่สำคัญคือ ประชาชนในพื้นที่ที่ช่วยกันพัฒนาสวนแห่งนี้ให้กลายเป็นพื้นที่สุขภาวะอย่างสมบูรณ์แบบ
• • • กลับสู่หน้าหลัก • • •

จากเกณฑ์มาตรฐานโลกที่ระบุเอาไว้ว่า ควรมีพื้นที่สีเขียวต่อหัวประชากร 9.0 ตารางเมตรต่อคน ซึ่งเขตภาษีเจริญ มีพื้นที่สีเขียวเพียง 0.2 ตารางเมตรต่อคนเท่านั้น จึงเกิดเป็นโจทย์ในการทำสวนสุขภาวะแห่งนี้
สาเหตุที่คนในกรุงเทพฯ มีสุขภาพไม่ดีเป็นเพราะสภาพแวดล้อม เนื่องจากไม่มีพื้นที่ที่เอื้อต่อสุขภาวะ ไม่มีที่สำหรับเดิน วิ่ง และหายใจ ต้นไม้ที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อการฟอกออกซิเจน ทำให้มีแต่มลพิษ จึงได้ทำการสำรวจ 2067 ชุมชน 50 เขต พบว่า มีพื้นที่รกร้างและสุ่มเสี่ยงเกือบ 50% และ 62% พบว่ามีพื้นที่รกร้างและเปลี่ยว ซึ่งเป็นที่มั่วสุมอีกด้วย
“มีการร้องเรียนถึงความสกปรกผ่านทางเว็บไซต์ ซึ่งพอมาดูก็พบว่าสกปรกจริง ๆ” จุดเริ่มต้นของการเข้ามาดูแลพัฒนาพื้นที่รกร้าง ซึ่งคนในชุมชนได้มีการจัดการพื้นที่อย่างเข้มแข็ง เกิดการร่วมมือของหลาย ๆ หน่วยงาน ที่ช่วยกันจัดการให้พื้นที่รกร้างหลังม.สยาม กลายเป็นสวนพื้นที่สุขภาวะแห่งการเรียนรู้

การออกแบบสวนแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกเพศทุกวัยสามารถใช้งานได้พร้อมกันผ่านการเรียนรู้ 7 ประเภทคือ การมองเห็น กายภาพ การใช้คำ การเข้าสังคม การเรียนรู้ด้วยตนเอง การใช้ตรรกะ และการฟัง ซึ่งสามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการของแต่ละคน แต่ละเวลา ทำให้ทุกคนในบ้านมีพื้นที่ใช้งานตามความประสงค์ได้ ไม่ว่าจะอ่านหนังสือ เตะบอล เล่นหมากฮอส และเรียนรู้การใช้เสียงจากการเคาะ ซึ่งนอกจากที่สวนพื้นสุขภาวะที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่ควรคำนึงต่อไปคือ การจะทำเกิดความยั่งยืน โดยจะต้องอาศัยความร่วมมือของคนในชุมชนให้ช่วยกันรักษา และพัฒนาต่อไป

“การเปลี่ยนพื้นที่รกร้างให้กลายเป็นพื้นที่สุขภาวะจำเป็นจะต้องสร้างความตระหนักรู้ให้กับคนชุมชน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ยาก”

สรุป
ทุกคนสามารถสร้างสวนสุขภาวะได้ แต่สิ่งที่ต้องคิดต่อคือ จะทำอย่างไรให้สวนที่เกิดขึ้นมาอยู่ต่อไป ซึ่งเบื้องต้นคนในชุมชนต้องเข้ามาช่วยกันรักษาร่วมกัน และยังได้ชื่นชมคนในชุมชนแห่งนี้ที่สามารถร่วมมือกันพัฒนาสวนแห่งนี้ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง และอยากให้คนในชุมชนรักกันไปจนถึงรุ่นลูก รุ่นหลาน