จากพื้นที่ที่ไม่มีใครเหลียวแล มีเพียงขยะกองโตเป็นภัยอันตรายของชุมชน แต่ด้วยการพัฒนาที่ไม่มีวันสิ้นสุด เป็นจุดสะท้อนความเข้มแข็งของการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และภาคีเครือข่าย พื้นที่แห่งนี้ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง และในที่สุดได้กลายเป็น “สวนพื้นที่สุขภาวะแห่งการเรียนรู้”
• • • กลับสู่หน้าหลัก • • •

กรุงเทพมหานครได้มีนโยบายที่จะพัฒนาพื้นที่รกร้างให้กลายเป็นพื้นที่สุขภาวะ โดยมุ่งสร้างให้แต่ละเขตของกทม. มีพื้นที่สุขภาวะอย่างน้อย 1 แห่ง ซึ่ง “สวนพื้นที่สุขภาวะ และห้องสมุดกำแพง” ณ พื้นที่สุขภาวะหลัง ม. สยาม รุ่งฟ้า 36 เขตภาษีเจริญ โดยเปลี่ยนกองขยะให้กลายเป็นพื้นที่สุขภาวะที่ประชาชนสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ได้ตามอัธยาศัย เกิดขึ้นจากความร่วมมือของหลายฝ่าย
ที่สำคัญคือ ประชาชนในพื้นที่ที่ช่วยกันดูแลสวนแห่งนี้ เมื่อประชาชนมีส่วนร่วมก็จะรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ และเมื่อคนในชุมชนรู้สึกเป็นเจ้าของ ก็จะเกิดความรัก และการดูแลรักษา เป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จึงเรียกได้ว่าเป็นประชารัฐเต็มรูปแบบ ซึ่งสวนแห่งนี้เกิดขึ้นจากการร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจจากหลาย ๆ ฝ่ายและด้วยความร่วมมือของประชาชนจะทำให้สวนแห่งนี้อยู่ได้อย่างยั่งยืนและถาวร

การทำให้ร่างกายแข็งแรงอย่างง่าย ๆ ด้วยวิธีการออกกำลังกาย การขยับร่างกาย แต่เพียงเท่านี้อาจไม่พอ ควรมีพื้นที่ให้ผู้คนออกมาใช้ชีวิต มาร่วมกันทำกิจกรรม และเมื่อทำกิจกรรมร่วมกันจะเกิดเป็นกิจกรรมทางสังคม เกิดความสัมพันธ์เชิงสังคมและพัฒนาต่อไปในเรื่องของสติปัญญา และจิตใจในเบื้องลึกต่อไป

“สวนพื้นที่สุขภาวะแห่งนี้ เป็นพื้นที่สุขภาวะชุมชนในเขต กทม. ที่ส่งเสริมสุขภาวะทุกมิติ รวมถึงส่งเสริมการเรียนรู้ทั้ง 7 รูปแบบ ได้แก่ ด้านกายภาพ การมองเห็น การพูด การเข้าสังคม การเรียนรู้ด้วยตนเอง การใช้ตรรกะ และการฟัง ซึ่งถือเป็นต้นแบบที่ดีเพื่อการเปลี่ยนแปลงสร้างสุขภาวะที่ดีของคนเมืองกรุงต่อไป”
“การที่เราจะรักษาสุขภาพของประชาชนได้นั้น ไม่ใช่ว่าต้องมีโรงพยาบาลมาก ๆ แต่เพียงอย่างเดียว แต่อีกทางคือ เราจะทำอย่างไรให้ประชาชนจะมีสุขภาพแข็งแรง โดยไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาล”

การสร้างสวนพื้นที่สุขภาวะแห่งนี้โดยมุ่งหวังให้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสุขภาพที่แข็งแรงให้กับประชาชน โดยกว่าจะประสบความสำเร็จในวันนี้ ตนได้มองพื้นที่รกร้างแห่งนี้เป็นห้องทดลองที่มีชีวิต การเรียนรู้ที่แท้จริงจะต้องสามารถประยุกต์ให้เข้ากับชุมชนท้องถิ่นและสังคมได้ ชุมชนแลtสังคมก็เปรียบเสมือนห้องทดลองของมหาวิทยาลัย จึงได้ใช้ประโยชน์จากการพัฒนาพื้นที่เพื่อเรียนรู้ในเรื่องต่าง ๆ และร่วมกันทำงานกับชุมชนและสังคม ความสำเร็จที่เกิดขึ้นนี้เป็นความสำเร็จร่วมกันของคนในชุมชน เพราะหากไม่มีชุมชนก็ไม่อาจสร้างการเรียนรู้ที่แท้จริงให้เกิดขึ้นได้
สรุป
ทั้งนี้สวนพื้นที่สุขภาวะ และห้องสมุดกำแพง เป็นพื้นที่สุขภาพที่เป็นความภาคภูมิใจของคนในชุมชน และที่สำคัญคือประชาชนในพื้นที่เขตภาษีเจริญที่มีเจตนารมณ์ ความมุ่งมั่นที่ช่วยกันพัฒนาชุมชนของตนเองให้ดียิ่งขึ้น