ช่วย ‘คนไทยตกหล่น’ แก้ปัญหาคนไทยไร้สิทธิ

เพราะคนไทยไร้สิทธิไม่ใช่แรงงานข้ามชาติ แต่เป็นคนไทยที่ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน และทำให้เข้าไม่ถึงสิทธิต่าง ๆ ที่ตนเองพึงมี

เพราะคนไทยไร้สิทธิไม่ใช่แรงงานข้ามชาติ แต่เป็นคนไทยที่ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน และทำให้เข้าไม่ถึงสิทธิต่าง ๆ ที่ตนเองพึงมี

• • • กลับสู่หน้าหลัก • • •

จากการสำรวจคนไทยไร้สิทธิ โดยมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย (มพศ.) และเครือข่าย สามารถแยกคนไทยไร้สิทธิออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

  1. กลุ่มคนที่ไม่เคยทำบัตรประชาชนมาก่อน เพราะพ่อแม่ไม่ได้แจ้งเกิด
  2. กลุ่มที่ติด ทร.97 ถูกจำหน่ายรายชื่อออกจากทะเบียนบ้าน ทำให้ชื่อไปอยู่ที่ทะเบียนกลาง
  3. กลุ่มหนีทหาร กลัวถูกดำเนินคดีทำให้ไม่กล้าต่ออายุบัตรประชาชน
  4. กลุ่มที่ไม่สามารถพิสูจน์ตัวตนได้ ถูกพ่อแม่ทอดทิ้งตามวัดและสถานสงเคราะห์ เหลือตัวคนเดียวไม่สามารถพิสูจน์สถานะบุคคลได้

คนเหล่านี้ล้วนเป็นคนไทยด้วยกันเพียงแต่ด้วยเหตุต่าง ๆ ทำให้ต้องมีสถานะเป็นคนไทยไร้สิทธิ  หน่วยงานต่าง ๆ จึงร่วมกันแก้ไขปัญหาคนไทยตกหล่นที่ยังเข้าไม่ถึงระบบบริการสุขภาพทั่วประเทศ

การขจัดอุปสรรคในการเข้าถึงสุขภาวะเป็นเรื่องที่ สสส. ให้ความสำคัญ เพราะกลุ่มคนไร้สิทธิเป็นกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการ รวมทั้งการเข้าถึงเรื่องที่คนไทยทั่วไปเข้าถึงได้ง่าย ๆ โดยเฉพาะการเข้าถึงสิทธิในการรับบริการด้านสุขภาพ การทำงานในเรื่องของสิทธิเน้นตั้งแต่การพิสูจน์สิทธิ พัฒนาสิทธิ ติดตามว่าสิทธิของพวกเขาอยู่ในระดับใด นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องของบุคคลที่มีสิทธิแต่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการเหล่านั้นได้ เราจะเข้าไปช่วยดำเนินการในเรื่องการให้บริการสุขภาพและสวัสดิการที่เหมาะสม

“เหตุที่ สสส. เข้ามาหนุนเสริมและปิดช่องว่างส่วนนี้ เพราะทำตามวิสัยทัศน์ เราเชื่อว่าการมีสิทธิ มีสถานะ เป็นปัจจัยแรก ๆ ที่จะทำให้เค้าพัฒนาไปสู่การเข้าถึงบริการสุขภาพ และสิทธิ์อื่น ๆ อย่างเหมาะสม”

การทำงานของ สปสช. ในอดีตได้พยายามเคลื่อนไหวในเชิงพื้นที่ โดยพยายามหาคนที่ไม่มีสิทธิ์ แต่ว่าเป็นการทำงานที่หนักจนเกินไป จึงหันมาทำงานในเชิงระบบด้วย เพราะการทำงานเชิงระบบต้องใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ สปสช.จึงต้องการให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ โดยจะช่วยในเรื่องของระบบ และการลงทะเบียนให้กับกลุ่มคนไร้สิทธิหลังได้รับเลข 13 หลัก ในบัตรประจำตัวประชาชน แต่ก่อนหน้านั้นต้องอาศัยภาคีเครือข่ายที่จะต้องขับเคลื่อนร่วมกัน

คนไร้สิทธิไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่คนไร้สิทธิเมื่อป่วยหนักแต่ไม่สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลได้ รวมถึงเมื่อเสียชีวิตแล้วแต่ไม่สามารถนำร่างออกจากโรงพยาบาล เพราะต้องระบุว่าเป็นบุคคลไร้ญาติ ไร้สถานะ ทั้ง ๆ ที่เขาเกิดในชุมชนเป็นคนไทยเต็มตัว แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นคนไทย มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย (มพศ.) จึงพยายามทำให้สังคมรับรู้ว่า ยังมีคนเหล่านี้ที่ยังไม่อยู่ในสารระบบใด ๆ เลย

เรื่องสำคัญของกลุ่มคนไทยไร้สิทธิคือเรื่องของสุขภาพ ที่พอเกิดปัญหาจะต้องนำเงินทั้งหมดไปรักษาตัว หรือไม่ก็เก็บเอาไว้ใช้จ่ายรายวันและยอมให้ป่วยหนัก พอไม่ไหวจริง ๆ จึงต้องโทรเรียกให้มูลนิธิต่าง ๆ มารับเพื่อให้ได้เข้าไปรับการรักษาพยาบาล แต่ก็ประสบกับปัญหาอีกเพราะไม่มีใครมาชำระค่าบริการให้ และกลายเป็นภาระของโรงพยาบาลต่อไป ทางมูลนิธิฯ จึงพยายามประสานงานกับเครือข่ายเพื่อหาช่องทางให้กลุ่มคนไทยไร้สิทธิได้สิทธิในการรักษาพยาบาลอันเป็นสิทธิพื้นฐานที่ทุกคนควรมี

เพราะทุกฝ่ายประสบปัญหา อยากช่วยเหลือแต่มันมีข้อจำกัดที่จะเข้าไปช่วย การจะพาใครสักคนไปทำบัตรประชาชน ถ้าข้อมูลรายละเอียดตัวบุคคลไม่ชัดเจน ก็ไม่กล้าให้ทำ เพราะมันมีการสวมสิทธิจริง แต่คนไร้สิทธิจริงก็มี ปัญหาที่กลุ่มคนไร้สิทธิส่วนใหญ่ไม่กล้าไปรับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล เพราะตนไม่มีสิทธิในการรักษา การมีบัตรประจำตัวประชาชนจึงสำคัญเพื่อให้ได้เข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง โดยการแก้ปัญหาคือร้องขอให้กลุ่มคนไร้สิทธิมาเข้าสถานสงเคราะห์ เพื่อยื่นเรื่องไปยังคณะกรรมการคนไร้สถานะ ซึ่งจะประชุมกันเพื่อหาทางออกให้กลุ่มคนไร้สิทธิ

เพราะทุกฝ่ายประสบปัญหา อยากช่วยเหลือแต่มันมีข้อจำกัดที่จะเข้าไปช่วย การจะพาใครสักคนไปทำบัตรประชาชน ถ้าข้อมูลรายละเอียดตัวบุคคลไม่ชัดเจน ก็ไม่กล้าให้ทำ เพราะมันมีการสวมสิทธิจริง แต่คนไร้สิทธิจริงก็มี

สรุป

การพิสูจน์สถานะบุคคล ไม่ได้มาซึ่งแค่บัตรประจำตัวประชาชน แต่จะได้มาซึ่งสิทธิขั้นพื้นฐานต่าง ๆ ที่คนไทยทุกคนที่ควรได้รับ เช่น สิทธิในการศึกษา สิทธิสวัสดิการต่าง ๆ และสิทธิสุขภาพ เพราะยังมีคนไทยอีกมากที่ยังไร้สิทธิ การทำงานในเรื่องดังกล่าวจึงสามารถช่วยเหลือให้วิถีชีวิตของใครหลายคนในสังคมไทยดีขึ้น

• • • กลับสู่หน้าหลัก • • •

เรื่องโดย ปรภ ไม่ใช่ รปภ

Leave a Reply

%d bloggers like this: