ปัญหา “คุกคามทางเพศ” ผู้เสียหายต้องไม่ถูกกระทำซ้ำ

เมื่อหน้าหนังสือพิมพ์มีข่าวคดีการข่มขืนเกิดขึ้น คนในสังคมมักจะตั้งคำถามว่า ทำไมไม่ระวังตัว? ทำไมไปเดินที่เปลี่ยว? ทำไมแต่งตัวโป๊? ซึ่งคำถามเหล่านี้เป็นมายาคติ หรือความคิดของคนในสังคมที่ตีความกันเอง การโทษผู้ถูกกระทำ เปรียบเสมือนการซ้ำเติมเหยื่อ ไม่ต่างอะไรจากการข่มขืนซ้ำโดยคนในสังคม

เมื่อหน้าหนังสือพิมพ์มีข่าวคดีการข่มขืนเกิดขึ้น คนในสังคมมักจะตั้งคำถามว่า ทำไมไม่ระวังตัว? ทำไมไปเดินที่เปลี่ยว? ทำไมแต่งตัวโป๊? ซึ่งคำถามเหล่านี้เป็นมายาคติ หรือความคิดของคนในสังคมที่ตีความกันเอง การโทษผู้ถูกกระทำ เปรียบเสมือนการซ้ำเติมเหยื่อ ไม่ต่างอะไรจากการข่มขืนซ้ำโดยคนในสังคม

• • • กลับสู่หน้าหลัก • • •

จากผลสำรวจของมูลนิธิหญิงชายก้าวไกลพบว่า สถิติการคุกคามทางเพศในปี 2557 พบว่ามีคดีข่มขืนทั้งสิ้น 31,866 ราย เฉลี่ยวันละ 87 ราย และจากการรวบรวมข้อมูลจากหน้าข่าวหนังสือพิมพ์ในปี 2558 พบว่า มีข่าวที่เกี่ยวกับการคุกคามทางเพศทั้งหมด 306 ข่าว ส่วนใหญ่มีปัจจัยกระตุ้นเกิดจากแอลกอฮอล์ ร้อยละ 30 รองลงมาเกิดจากการไม่ยับยั้งอารมณ์ทางเพศของผู้กระทำ ร้อยละ 23.3

นอกจากนี้พบว่าผู้ถูกกระทำส่วนใหญ่เป็นนักเรียน-นักศึกษา โดยผู้ถูกกระทำที่มีอายุน้อยที่สุด 1 ปี 8 เดือน อายุมากที่สุด 86 ปี ซึ่งสะท้อนอย่างชัดเจนว่าปัญหาเรื่องของการคุกคามทางเพศนี้เป็นสิ่งที่ปล่อยผ่านเลยไปไม่ได้

มุมมองของคนในสังคม หรือมายาคติที่หลายคนมองว่า การคุกคามทางเพศมันน่าจะเกิดจากการที่ผู้หญิงแต่งตัวไม่รัดกุม แต่งตัวโป๊ แต่ท้ายที่สุดไม่ว่าจะแต่งตัวแบบไหนมันก็ไม่ใช่สาเหตุของการทำให้เกิดความรุนแรงทางเพศ

มายาคติที่เกิดจากการคุกคามทางเพศนั้นมีหลายตัว เช่น เรื่องของการเป็นมายาคติที่กล่าวถึงผู้ที่กระทำการข่มขืนส่วนใหญ่เป็นบุคคลแปลกหน้า แต่จากข้อมูลที่ทางมูลนิธิฯ สำรวจพบว่า 50-60 % เป็นคนใกล้ตัว เป็นคนในบ้าน เป็นเพื่อน หรือแม้กระทั่งเป็นแฟน ซึ่งมายาคติเหล่านี้หากผู้กระทำการข่มขืนส่วนใหญ่เป็นคนแปลกหน้าผู้หญิงควรระมัดระวังตัวเอง หรือการตั้งคำถามว่าผู้หญิงทำไมไม่ระมัดระวังตัว หรือมองว่าผู้หญิงแต่งตัวล่อแหลม แต่งตัวโป๊จึงถูกข่มขืนใช่หรือไม่

จากการรวบรวมข้อมูลบนหน้าหนังสือพิมพ์พบว่า ไม่มีฉบับไหนที่ระบุลักษณะการแต่งกายของผู้หญิง อย่างไรก็ตามจากข้อมูลของผู้ที่ถูกข่มขืนพบว่า ไม่มีผู้หญิงคนไหนที่แต่งกายนุ่งสั้นสายเดี่ยวเลย

ข้อเท็จจริงเหล่านี้มันบอกชัดจากสถานการณ์ปัญหาความรุนแรง และมองว่าเราจะต้องตีแผ่ให้สังคมรับรู้ว่าปัญหาไม่ได้เกิดจากตัวผู้ถูกกระทำ หรือเกิดจากการไม่ระมัดระวังตัว แต่เกิดจากหลาย ๆ ปัจจัย ที่พยายามกระทำซ้ำหรือกล่าวโทษผู้หญิง

สังคมปัจจุบันกว่า 90% ผู้คนและสังคมจะเห็นใจผู้ที่ถูกข่มขืนในแค่บางกรณี สังคมจะสะเทือนใจมากหากการข่มขืนเกิดขึ้นกับผู้ถูกกระทำที่สังคมยอมรับไม่ได้ เช่น การข่มขืนเด็ก การข่มขืนที่นำไปสู่การเสียชีวิต การข่มขืนที่เกิดขึ้นในความสัมพันธ์ที่สังคมไม่ยอมรับ เช่น การข่มขืนในสายเลือด การข่มขืนของครูและลูกศิษย์

ในอีกประเด็นที่ยังต้องทำงานหนักขึ้นคือ การข่มขืนในบางความสัมพันธ์ที่สังคมยังไม่ให้อภัยหรือเห็นใจผู้ถูกกระทำ เช่น การข่มขืนในความสัมพันธ์ชีวิตคู่ ถ้าการข่มขืนนั้นเกิดขึ้นกับแฟน คู่รัก หรือคู่สามีภรรยา ในประเด็นนี้ความคิดเห็นของคนสังคมจะแตกออกเป็นครึ่งต่อครึ่ง เพราะมองว่าการที่เป็นแฟนหรือการเข้าไปอยู่ในห้องเดียวกับคนรักนั่นหมายความว่าสมยอมที่จะให้อีกฝ่ายล่วงละเมิดทางเพศโดยชอบธรรม ซึ่งประเด็นนี้สังคมยังโทษผู้หญิงเกินครึ่งหนึ่ง

สรุป

มายาคติ หรือมุมมองของคนในสังคมว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ หากเปลี่ยนทัศนคติและความคิดของคนในสังคมจะสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมในอนาคตได้ แต่การเปลี่ยนแปลงจะต้องค่อย ๆ ทำอย่างนุ่มนวล ค่อย ๆ ปรับ การเปลี่ยนความคิดของคนในสังคม โดยการปลูกฝังในโรงเรียนตั้งแต่เด็ก เพื่อให้โตมามีความคิดที่ดี จะทำให้ปัญหาเหล่านี้ลดลง

• • • กลับสู่หน้าหลัก • • •

เรื่องโดย ปรภ ไม่ใช่ รปภ

Leave a Reply

%d bloggers like this: