รีวิวพิพิธภัณฑ์ปลากัดไทย

ปลากัด เป็นปลาขนาดเล็กที่มีสีสันสวยงาม เลี้ยงดูง่าย จึงมักเป็นสัตว์เลี้ยงตัวแรกๆ ของใครหลายๆ นอกจากนี้ปลากัดยังมีอิทธิพลต่อคนไทยในอดีตอย่างมาก เพราะถือเป็นการสอดแทรกภูมิปัญญาของไทยในการเลี้ยงดูผ่านวัฒนธรรมมาสู่คนรุ่นปัจจุบัน ผ่านพิพิธภัณฑ์ปลากัดไทย ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับสายพันธุ์ของปลากัดต่างๆ รวมถึงวิธีการเลี้ยงอย่างถูกต้อง การเพาะพันธุ์ และการรักษายามเจ็บป่วย

ปลากัด เป็นปลาขนาดเล็กที่มีสีสันสวยงาม เลี้ยงดูง่าย จึงมักเป็นสัตว์เลี้ยงตัวแรกๆ ของใครหลายๆ นอกจากนี้ปลากัดยังมีอิทธิพลต่อคนไทยในอดีตอย่างมาก เพราะถือเป็นการสอดแทรกภูมิปัญญาของไทยในการเลี้ยงดูผ่านวัฒนธรรมมาสู่คนรุ่นปัจจุบัน ผ่านพิพิธภัณฑ์ปลากัดไทย ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับสายพันธุ์ของปลากัดต่างๆ รวมถึงวิธีการเลี้ยงอย่างถูกต้อง การเพาะพันธุ์ และการรักษายามเจ็บป่วย

• • • กลับสู่หน้าหลัก • • •

เมื่อพูดถึงการไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์ในวันหยุดหลายคนอาจจะร้องยี้ แต่เชื่อว่าไม่ใช่กับที่นี่ เพราะพิพิธภัณฑ์ปลากัดไทยแห่งนี้เปรียบเสมือนแหล่งเรียนรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด โดยพิพิธภัณฑ์ปลากัดไทย เกิดขึ้นจากอดีต รมช.คมนาคม คุณพีระพงศ์ ถนอมพงษ์พันธ์ ที่ต้องการสร้างพิพิธภัณฑ์ที่ให้ความรู้และเปิดโลกทัศน์ไปด้วยในตัว จึงเกิดเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ภายใต้ความร่วมมือของคนในชุมชนและบริษัท สวนบางกะเจ้าจำกัด

พิพิธภัณฑ์ปลากัดไทยตั้งอยู่ที่เกาะกระเพาะหมู หรือบางกระเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งถูกอนุรักษ์เป็นปอดของคนกรุงเทพจนได้รับการยกย่องจาก Time Magazine ว่าเป็น Urban Oasis of Asia ในปี 2006 จึงถือเป็นสะพานเชื่อมวัฒนธรรมของไทยจากอดีตสู่ปัจจุบันและสู่สากล โดยเฉพาะในเชิงนิเวศวิทยา

ภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีการจัดแสดงสายพันธุ์ต่างๆ ของปลากัด การแสดงตัวอย่างของปลาเพศผู้เพศเมีย การเพาะพันธุ์ปลา รวมไปถึงให้ความรู้กรณีที่ปลาเกิดอาการเจ็บป่วย โดยคุณมนชัย สันติอุดมมงคล ที่คอยดูแลสถานที่แห่งนี้ยังคอยให้ความรู้แก่ผู้ที่มาเยี่ยมชม และเชิญชวนให้เปิดแผ่นที่คั่นโหลปลากัดเพื่อให้เห็นถึงการแผ่หางโชว์ความสวยงามของแต่ละตัว

คุณมนชัยเล่าว่า แต่เดิมตนไม่ได้ดูแลที่นี่ แต่ชอบแวะเวียนมาประจำ เพราะความชื่นชอบหลงไหลในปลากัดทำให้ผูกพัน และเจ้าของที่นี่ก็เลยไว้วางใจให้ช่วยดูแล และทุกวันหยุดก็จะแวะมาคอยให้ความรู้แก่ผู้เยี่ยมชมทั้งชาวไทยและต่างชาติ 

หากใครที่แวะผ่านไปมาก็อาจจะเห็นปลากัดนอนเฉยๆ ในโหลของแต่ละตัว ไม่ได้เห็นความสวยงามอย่างแท้จริง คุณมนชัย จึงมักจะชักชวนให้เปิดแผ่นกั้นระหว่างโหล เพื่อให้ปลากัดมองเห็นกันและกัน และทำให้แต่ละตัวต้องการแสดงพลังของตัวเองผ่านการแผ่หางโชว์ความสวยงามอันเป็นเอกลักษณ์ของปลากัด

นอกจากนี้คุณมนชัยยังแนะนำให้ผู้เยี่ยมชมเดินดูบริเวณรอบๆ ไม่ว่าจะเป็นโหลปลากัดที่กำลังผสมพันธุ์ วางไข่ รวมไปถึงปลากัดที่ป่วยด้วยโรคต่างๆ และวิธีการรักษาอีกด้วย 

พิพิธภัณฑ์ปลากัดไทยเปิดทุกวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์เวลา 10.00 – 17.00 น. ไม่มีค่าใช้จ่าย แต่หากใครต้องการบริจาคก็สามารถลงชื่อและมอบเงินบริจาคได้ที่ทางเข้า นอกจากนี้พิพิธภัณฑ์ปลากัดแห่งนี้ยังมีส่วนต่างๆ ที่ร่มรื่นไม่แพ้กัน ประกอบไปด้วย บ้านรักรู้ หอโลกธรรม รวมไปถึงร้านเครื่องดื่มที่คอยให้บริการแก่ผู้ที่แวะเวียนมาพักผ่อน ณ สถานที่แห่งนี้อีกด้วย

ก่อนกลับหากใครที่สนใจจะซื้อผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่ผลิตโดยคนในชุมชนก็สามารถนำกลับไปเป็นของฝาก และหากใครที่ยังหาที่เที่ยวในวันหยุด และต้องการพักผ่อนปอดในวันที่ฝุ่นฟุ้งทั่วกรุงฯ ก็สามารถมากันได้ที่พิพิธภัณฑ์ปลากัดไทยนะครับ

• • • กลับสู่หน้าหลัก • • •

เรื่องโดย ปรภ ไม่ใช่ รปภ


Logo-Original

• • •

• • •

Logo-Original

Leave a Reply

Discover more from Porraphat.com

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading