การสร้างคำวิเศษสร้างด้วยการตั้งคำถามที่บังคับให้อีกฝ่ายตอบรับในสิ่งที่เป็นจริง เราควรพยายามหาโอกาสให้อีกฝ่ายเห็นด้วยกับคำพูดของเราโดยเร็ว และควรทำในช่วงต้นของการสื่อสาร และไม่จำเป็นต้องให้อีกฝ่ายตอบรับด้วยคำพูด แต่ทำให้เราพยักหน้าเห็นด้วยอย่างเต็มใจก็ถือว่าได้ผลเช่นกัน
• • • กลับสู่หน้าหลัก • • •

สร้างการตอบรับทีละนิด โดยอาศัยการพูดเรื่องที่เห็นได้ชัดว่าเป็นความจริงอยู่แล้ว หรือสร้างบทสนทนาที่เป็นเรื่องที่ธรรมดามาก ๆ ให้อีกฝ่ายตอบตกลงโดยเลี่ยงไม่ได้ด้วยวิธีดังนี้
1. จบประโยคด้วยการถามย้ำ
โดยลงท้ายประโยคว่า จริงไหมครับ ใช่ไหมครับ ซึ่งคำถามย้ำจะมีประสิทธิภาพมากเมื่อถูกถามด้วยน้ำเสียงที่นิ่งเรียบเป็นประโยคบอกเล่า แต่หากจบด้วยการถามย้ำก็จะทำให้อีกฝ่ายตอบรับทีละนิดและจะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมหาศาลเลยทีเดียว

2. ใช้คำพูดแสดงความเชื่อมั่น
โดยอาจขึ้นประโยคว่า เห็นได้ชัดว่า ไม่แปลกใจเลยว่า แน่นอนว่า ซึ่งจะเป็นสร้างความเชื่อมั่น และเหมือนเป็นการสะกดจิตให้อีกฝ่ายเห็นด้วยกับเราตั้งแต่ประโยคเริ่มต้น และจะทำให้อีกฝ่ายตอบรับอย่างเลี่ยงไม่ได้

3. ทวนคำพูด
การทวนสิ่งที่อีกฝ่ายพูดจะช่วยให้เกิดการตอบรับ และยังช่วยแสดงให้เห็นว่าคุณเป็นผู้ฟังที่ดีด้วย แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ ไม่ควรขยายความของประโยคนั้น โดยเลี่ยงประโยคคำถามเช่น “คุณกำลังบอกว่า…” “ผมเข้าใจถูกไหม” ซึ่งถือเป็นคำที่ไม่ควรทำ แต่ควรทวนประโยคของอีกฝ่ายแบบเป๊ะๆ และต้องระวังไม่ให้ดูเหมือนว่าคุณกำลังล้อเลียนเขาอยู่

4. ทำให้เกิดการพยักหน้า
ประโยคเหล่านี้มักเป็นประโยคที่แทบไม่มีใครโต้แย้งได้ เช่น “กันไว้ดีกว่าแก้” แม้ประโยคเหล่านี้จะดูน่าเบื่อ แต่หลายคนจะคุ้นเคยกันมาพอสมควร อาจเป็นคำจากคนดัง หรือคำคมที่ปฏิบัติมาอย่างช้านาน แต่นี่แหละจะทำให้อีกฝ่ายปฏิเสธไม่ได้และก็จะทำให้อีกฝ่ายพยักหน้าอย่างเลี่ยงไม่ได้

5. ประโยคบาร์นัม
ประโยคแบบนี้มักถูกบรรดาหมอดูใช้ในการทำนายทายทัก มักเป็นประโยคที่อธิบายแบบกว้างมากๆ กว้างแบบครอบจักรวาลที่ทุกคนเห็นด้วย เช่น “บางครั้งคุณก็เป็นที่ชอบอยู่คนเดียวและมีโลกส่วนตัวสูง แต่บางครั้งคุณก็ชอบเข้าสังคมและพูดเก่ง”
สรุป
ประโยคเหล่านี้จะบังคับให้อีกฝ่ายตอบรับอย่างปฏิเสธไม่ได้ และยิ่งทำให้อีกฝ่ายตอบรับได้มากเท่าไหร่ การเจรจาหรือโน้มน้าวจิตใจของคู่สนทนาก็ง่ายดายยิ่งขึ้น
บทความล่าสุดในหมวด Lifestyle
• • •
• • •