เราถูกสอนตั้งแต่เล็กจนโตว่าถ้าอยากแข็งแรง “ต้องทานอาหารให้ครบ 5 หมู่” แต่ในปัจจุบันเพียงแค่นั้นคงไม่พอ ควรเพิ่มการออกกำลังกายและการสันทนาการเข้าไปเพื่อให้ชีวิตมีสุขภาพที่แข็งแรงทั้งทางกายและใจ
หลายคนคงเคยได้ยินว่า ‘มนุษย์เป็นสัตว์กินพืช’ แต่ในความเป็นจริงแล้ว มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถเลือกกินได้ทั้งพืชและเนื้อสัตว์ แต่การกินเนื้อสัตว์มากจนเกินพอดีจะส่งผลเสียต่อร่างกาย
• • • กลับสู่หน้าหลัก • • •

การดูแลสุขภาพด้วยอาหารการกินของผู้สูงอายุนอกจากจะต้องกินผักเยอะๆ แล้ว การดูแลรักษาฟันให้มีสุขภาพปากที่แข็งแรงก็เป็นสิ่งสำคัญ
“ถ้าจะกินอาหารให้อร่อยจะต้องมีฟันที่แข็งแรง วิธีดูแลฟันแบบง่ายๆ คือการแปรงฟันทุกเช้า-เย็น ไม่ใช่แค่แปรงฟันตอนอายุเยอะ อย่ามัวแต่ย้ำเตือนให้กินผักแต่ไม่ดูแลสุขภาพฟันเลย”

นอกเหนือจากการดูแลสุขภาพด้วยการทานอาหารที่ดีแล้ว สุขภาพจะดีขึ้นต้องพึ่งพาเรื่องของการออกกำลังกายไปควบคู่กัน
“ไม่มีใครสุขภาพดีด้วยการกินอาหารดีอย่างเดียว หรือออกกำลังกายอย่างเดียว ทั้งสองอย่างจะต้องผสมผสานกัน”

การออกกำลังกายสามารถช่วยในเรื่องของสมรรถภาพของปอดและหัวใจ ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ดีขึ้น ช่วยในเรื่องของการยืดเหยียด ป้องกันการปวดหลังหรือกล้ามเนื้อ และช่วยในการควบคุมน้ำหนักอีกด้วย
“นอกจากนี้การออกกำลังกายควรปรับให้เป็นในรูปแบบกิจกรรม เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วม และเกิดความสนุก”

สำหรับวัยรุ่น หรือวัยทำงาน สิ่งที่มักจะทำเป็นประจำในช่วงวันหยุดคือ นอนตื่นสายและพักผ่อนอยู่บ้าน ในขณะที่ผู้สูงอายุชอบตื่นเช้าและต้องการเข้าร่วมสังคม โดยนายวิศาล กองเงิน ผู้อำนวยการกองนันทนาการกรุงเทพมหานคร ได้จัดพื้นที่ส่วนกลางให้ผู้สูงอายุออกมาทำกิจกรรมร่วมกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสร้างสุขจากการพูดคุย เสริมสร้างสติปัญญา โดยใช้หลัก 5 ส. ดังนี้
- สุขกายด้านเคลื่อนไหว เน้นให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายตามสภาพกำลังของตนเอง
- สุขภาพด้านจิตใจ ผ่านดนตรีบำบัด สนทนาธรรม กิจกรรมไหว้พระต่าง ๆ
- สุขอารมณ์ ให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมที่คลายเครียด เช่น ร้องเพลงคาราโอเกะ ฝึกวาดรูป ฝึกทำกิจกรรมที่สามารถต่อยอดไปเป็นอาชีพเสริมได้ เช่น การทำการบูร เป็นต้น
- สุขสังคม การตั้งเครือข่ายผู้สูงอายุทำจิตอาสาบริเวณชุมชนต่าง ๆ
- สุขปัญหา มีการสอนให้ผู้สูงอายุเล่นไลน์ เล่นเฟซบุ๊ก เป็นต้น

สรุป
การดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุจะต้องหมั่นกินอาหารที่มีประโยชน์ ควบคุมปริมาณการกินในสัดส่วนที่พอดี และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม นอกจากนี้จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น จึงจะทำให้ผู้สูงอายุมีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจที่สมบูรณ์
• • • กลับสู่หน้าหลัก • • •
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต