จับโป๊ะออนไลน์ โปรไฟล์รูปปลอม

เคยคุยกับใครใแล้วมารู้ทีหลังว่าเขาใช้รูปคนอื่นไหม? เคยชวนเปิดกล้องเท่าไหร่ก็ไม่ยอมเปิด สุดท้ายมารู้ว่านั่นคือรูปปลอมไหม? ถ้าเคย คุณคือหนึ่งในพวกเรา....ผู้ที่หลงผิดชื่นชอบในรูปโปรไฟล์

เคยคุยกับใครใแล้วมารู้ทีหลังว่าเขาใช้รูปคนอื่นไหม? เคยชวนเปิดกล้องเท่าไหร่ก็ไม่ยอมเปิด สุดท้ายมารู้ว่านั่นคือรูปปลอมไหม? ถ้าเคย คุณคือหนึ่งในพวกเรา….ผู้ที่หลงผิดชื่นชอบในรูปโปรไฟล์

ด้วยยุคสมัยที่การสื่อสารทำได้ง่ายเพียงปลายนิ้ว เราคุยกับเพื่อนได้หลายคนพร้อมกัน เราคุยงานและคุยเล่นได้เพียงแค่สลับหน้าแชท เราสามารถจีบคนอื่น หรือถูกจีบได้จากคนแปลกหน้าในโลกออนไลน์ได้ทีละหลาย ๆ คน (ถ้าคุณหน้าตาดีพอ) ซึ่งหลายครั้งหน้าตาก็เป็นอุปสรรค์ที่ทำให้ถูกหลอกได้ แต่มันเกิดขึ้นได้ยังไงกันล่ะ? มาดูกัน…

• • • กลับสู่หน้าหลัก • • •
Man with smartphone
Man with smartphone

เมื่อเรามีโปรไฟล์ออนไลน์ ไม่ว่าจะในเฟซบุ๊ก ไลน์ ทวิตเตอร์ หรืออินสตาแกรม ซึ่งโซเชียลมีเดียเหล่านี้เป็นสิ่งที่คนไทยนิยมใช้ โดย 2 ใน 4 โดยส่วนใหญ่มักจะใช้รูปตัวเองในเฟซบุ๊กและไลน์ ซึ่งในขณะที่อินสตาแกรมมักเป็นรูปภาพอื่น ๆ หรือทวิตเตอร์ที่หลายคนมักพูดติดปากว่านั่นคือด้านมืดของตัวเอง

เมื่อพูดถึงรูปโปรไฟล์ในสมัยนี้ แทบจะไม่มีใครไม่แต่งรูป ไม่ว่าจะแอปไหนก็ตาม หรือด้วยกล้องนางฟ้า หรือกล้องเทพ ที่ถ่ายออกมาแล้วสวยงามทุกช๊อต รูปเหล่านั้นเจ้าของโปรไฟล์จะต้องพึงพอใจจึงจะยอมเอาขึ้นใช้แสดงตัวตน

เมื่อรูปโปรไฟล์เป็นสิ่งแรกที่คนเลือกมอง คนที่หน้าตาพอไปวัดไปวา ก็จะหามุมถ่ายรูปให้ได้องศาที่ต้องการ แต่งรูปให้เกิดการบิดเบือนของความจริงเล็กออก ออกมาเป็นรูปภาพที่เกือบจะต่างจากตัวจริง แล้วนำขึ้นเป็นโปรไฟล์เพื่อปล่อยให้เสน่ห์ของมันล่องลอยออกไป แต่สำหรับคนที่ถ่ายรูปยังไงก็ไม่ดูดี แต่ต้องการจะเป็นที่สนใจก็อาจจะเลือกหนทางที่ปลอมขึ้นมากว่านี้ คือการใช้รูปภาพของคนอื่นเพื่อใช้เป็นตัวแทนในการพูดคุย ในการเข้าหา บิดเบือนวิถีชีวิตเพื่อให้คนสนใจ สร้างตัวตนขึ้นมาใหม่บนโลกออกไลน์

เจตนาของการใช้รูปปลอมหลายครั้งก็มาจากการหมันไส้เจ้าของรูป การกลั่นแกล้ง การปลอมตัวไปหลอกเงิน หรืออื่นๆ อีกมากมาย ในบทความนี้ได้รวบรวมวิธีการเช็ค หรือวิธีการสังเกตว่าบุคคลใดเป็นผู้ที่ใช้รูปภาพปลอมกันบ้าง ดังนี้

1. ขอโซเชียลมีเดียอื่นๆ

ปัจจุบันคนเราใช้มากกว่า 1 ช่องทาง ดังนั้นการขอไลน์ อินสตาแกรม หรือเฟซบุ๊กเพิ่ม จะช่วยให้เราเทียบกันได้ว่าบุคคลนั้นมีความน่าเชื่อถือเพียงไร แต่หากถูกปฏิเสธ ก็อย่าเพิ่งเชื่อว่าเป็นตัวปลอม ให้ลองศึกษากันไปก่อน

facebook
facebook

2. ชวนพูดคุยทางโทรศัพท์หรือวิดีโอคอล

ผู้ที่ใช้รูปปลอมไม่กล้าเปิดกล้องวิดีโออย่างแน่นอน แต่สำหรับการคุยโทรศัพท์ก็จะทำให้เราพอเดาได้ว่าหน้าตาในรูป จะเข้ากับเสียงมากน้อยแค่ไหน

3. สังเกตประวัตส่วนตัวในเฟซบุ๊ก

เพื่อเทียบกับสิ่งที่คุยกันว่าน่าเชื่อถือหรือไม่ ดูประวัติการทำงาน ประวัติการเรียน หรือการเช็คอินที่ต่าง ๆ แล้วหาจุดเชื่อมโยงกับเราเพื่อสร้างบทสนทนา เช่น เคยไปเกาหลีมาด้วยเหรอ? ไปที่ไหนบ้าง? ไปมานานหรือยัง? เราเคยไปที่…… เป็นต้น  

man using smartphone
man using smartphone

4. สังเกตการอัปเดตรูปภาพ

ว่ามีการคอมเมนต์จากคนสนิท เพื่อน ครอบครัวหรือไม่ เพราะผู้ที่เป็นเจ้าของโปรไฟล์ มักจะมีเพื่อนมาคอมเมนต์แซวกันบ้าง สังเกตจากภาษาของเพื่อนที่ใช้ เพราะหากมีแต่คอมเมนต์ชมว่าหล่อ น่ารัก ก็คงเป็นเพื่อนแค่ในโลกออนไลน์เท่านั้น

person holding iphone space grey open twitter
person holding iphone

5. สังเกตการโพสต์ข้อความ

ว่ามีเพื่อนมาแสดงความคิดเห็นในเรื่องนั้น ๆ หรือไม่ รวมถึงการตอบคอมเมนต์ว่ามีความสนิทกันมากน้อยเพียงไร เพราะหากเป็นโปรไฟล์ปลอมจะไม่ค่อยมีเพื่อนมาแสดงตัวตนสักเท่าไหร่

man using smartphone and holding jeans
man using smartphone

6. สังเกตรูปที่แท๊ก หรือถูกแท๊ก

รูปที่แท๊กจะชี้ชัดว่าเป็นเจ้าของเฟซบุ๊กจริง เพราะมีการพบปะกับเพื่อนจริง แต่สำหรับรูปที่ถูกแท๊กอาจจะถูกปิดกั้นเอาไว้ แต่หากมีก็จะเป็นตัวช่วยในการทำให้เรามั่นใจว่าคือเจ้าของโปรไฟล์จริง

สรุป

การที่เราจะทักไปหาใครสักคนบนโลกออนไลน์ สิ่งแรกที่เรามองคือหน้าตา รูปลักษณ์ภายนอก การใช้ชีวิตผ่านโพสต์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโพสต์ข้อความ รูปภาพ หรือเช็คอินสถานที่ มันแสดงออกถึงไลฟ์สไตล์ผ่านสื่อโซเชียล ทำให้หลายคนที่บอกว่า “รักกันที่ใจ” แทบใช้ไม่ได้ในนี้ เพราะสิ่งแรกที่เราจะเห็นบนหน้าโปรไฟล์คือ “รูปภาพ” (ที่ผ่านการแต่งมาแล้ว) ดังนั้น หากจะบอกว่ารูปภาพโปรไฟล์ไม่สำคัญก็คงไม่ใช่ซะทีเดียว

• • • กลับสู่หน้าหลัก • • •

เรื่องโดย ปรภ ไม่ใช่ รปภ

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

บทความน่าอ่านต่อ

2 Comments

Leave a Reply

%d bloggers like this: