หลายคนอาจจะรู้จักกับป๊อปเปอร์ สารระเหยที่ใช้ดมเพื่อเพิ่มความสุขในขณะมีเพศสัมพันธ์ แต่ความสุขที่เกิดขึ้นชั่วคราวนั้นอาจก่อให้เกิดพิษที่เราคาดไม่ถึง นั่นเพราะต้นกำเนิดของมันไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อการมีเซ็กส์แต่เป็นการใช้เพื่อทางการแพทย์นั่นเอง
สำหรับผู้ที่คุ้นเคยกับป๊อปเปอร์ดีจะรู้ว่ามันช่วยเพิ่มความสนุกขณะร่วมเพศ แต่ก็ยังไม่รู้ถึงที่มาที่ไปของมัน บทความนี้ ปรภ จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับเจ้าป๊อปเปอร์ตัวนี้ ว่าสรุปแล้วมันเป็นยาเคลิ้มหรือยาพิษกันแน่
• • • กลับสู่หน้าหลัก • • •

อะไรคือป๊อปเปอร์?
- อดีต = ใช้สูดดมขยายหลอดเลือด รักษาอาการหัวใจขาดเลือด
- ปัจจุบัน = ใช้สูดดมเพื่อเพิ่มอารมณ์ทางเพศ

จุดกำเนิดป๊อปเปอร์
ในอดีตบรรจุภัณฑ์ของป๊อปเปอร์มีลักษณะเป็นหลอดแก้วหุ้มตาข่าย เวลาใช้จะต้องหักกระเปาะแก้วออกเพื่อสูดดม และเกิดเสียงดัง ป๊อป จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกป๊อปเปอร์ ต่อมามียาตัวอื่นที่สะดวกและปลอดภัยมากกว่าสาร Amyl Nitrite จึงหายไปจากวงการแพทย์โดยปริยาย
Sir Thomas Lauder Brunton แพทย์ชาวสก๊อตแลนด์เป็นผู้ริเร่มในการใช้สารเอมิล ไนไตรท์ (Amyl Nitrite) ในการรักษาอาการหัวใจขาดเลือด โดยสารตัวนี้จะเข้าไปช่วยทำให้เลือดไหลเวียนได้ง่ายผ่านการขยายหลอดเลือด ช่วยลดอาการเจ็บปวดหน้าอก และทำให้เกิดความรู้สึกอุ่น ๆ ทั่วร่างกาย
ป๊อปเปอร์เริ่มปรากฎตัวในสถานบันเทิงของเกย์ในช่วงศตวรรษที่ 20 โดยเริ่มที่ดิสโก้เทค ไนท์คลับ และร้านเหล้า โดยมีการใช้เพื่อให้เกิดอาการเคลิ้มลอย เพิ่มความสุขทางเพศ แม้จะมีผลเป็นระยะเวลาสั้น ๆ แต่ก็ราคาถูกและสามารถพกพาได้ง่าย โดยสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วสหรัฐอเมริกา ต่อมาในปี 1988 จึงได้มีการห้ามจำหน่ายป๊อปเปอร์บางชนิด ทำให้ผู้ผลิตยาทำการเปลี่ยนแปลงสูตรเพื่อเลี่ยงการต้องห้ามนั้น
จากนั้นป๊อปเปอร์จึงถูกโฆษณาให้เป็นสารปรับกลิ่นในห้อง…น้ำยาล้างเล็บ…น้ำยาล้างหัวอ่านแผ่นฟิล์ม…วางขายตาม Sex shop หรือโรงอาบน้ำ
พลังของยาเคลิ้ม
ด้วยฤทธิ์ของป๊อปเปอร์ที่ช่วยขยายหลอดเลือด คลายกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดความง่ายในการมีเพศสัมพันธ์ในการสอดใส่อวัยวะเพศโดยเฉพาะการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายรักชายผ่านทวารหนัก
ผลที่เกิดขึ้นเมื่อสูดดมป๊อปเปอร์
- การขยายตัวของหลอดเลือดจะทำให้รู้สึกอบอุ่นข้างใน
- ความดันโลหิตลดลง
- หัวใจเต้นเร็ว
- เกิดอาการวิงเวียนศีรษะมึน
- กล้ามเนื้อทวารหนักเกิดการผ่อนคลาย
ผลข้างเคียงจากการสูดดมป๊อปเปอร์
- ผิวหนังบริเวณรอบๆ จมูกหรือริมฝีปากแห้ง แตก หรือลอกออก
- มีอาการไซนัสอักเสบ หรืออาการภูมิแพ้ในระบบทางเดินหายใจ
- ปวดหัวยาวนาน
- ความดันลูกตาเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ฤทธิ์การคลายหลอดเลือดจะทำให้หัวใจเต้นแรงและเร็ว ทำให้รู้สึกตื่นเต้นไปจนถึงอาการเคลิบเคลิ้ม การใช้เพื่อการผ่อนคลายจึงเป็นอีกสิ่งที่ผู้ใช้นิยม

ความเสี่ยงที่เกิดจากป๊อปเปอร์
ในทางกฎหมายป๊อปเปอร์ จัดเป็นสารระเหยที่อยู่ภายใต้การควบคุมของพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พุทธศักราช 2533 การซื้อขาย ครอบครอง จะต้องปฏิบัติตามข้อกฎหมายดังกล่าว อย่างไรก็ตามฤทธิ์ของป๊อปเปอร์สามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงดังนี้
- การที่หลอดเลือดในร่างกายขยายตัวทำให้เลือดมาคั่งบริเวณอวัยเพศได้มากขึ้น เสี่ยงต่อการรับเชื้อโรคหากเกิดบาดแผลหรือมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน
- ป๊อปเปอร์มีฤทธิ์กดการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว รวมทั้งทำให้ประสิทธิภาพของการหลั่งสารเคมีในระบบภูมิคุ้มกันหลายชนิดบกพร่อง ทำให้เกิดสภาวะการกดภูมิคุ้มกันชั่วคราว เป็นความเสี่ยงที่จะทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
- การใช้ป๊อปเปอร์ทำให้รู้สึกเคลิบเคลิ้มและก่อให้เกิดความเสี่ยงในการที่จะลืมป้องกันตนเอง เสี่ยงที่จะมีเพศสัมพันธ์อย่างไม่ปลอดภัย
ถึงแม้ว่าป๊อปเปอร์จะแฝงไปด้วยอันตราย แต่จากการสำรวจพบว่า 1 ใน 3 ของกลุ่มชายรักชายและไบเซ็กชวลมีการใช้สารระเหยดังกล่าว และยังมีอัตราเพิ่มขึ้นในกลุ่มคนทั่วไปอีกด้วย

สรุป
ป๊อปเปอร์ เหมือนจะเป็นเครื่องช่วยในกิจกรรมทางเพศ แต่มันคือความสนุกที่เข้าถึงได้ในระยะสั้น แต่ความเสี่ยงจะเกิดขึ้นในระยะยาว อย่างไรก็ตามฤทธิ์ของป๊อปเปอร์อาจเป็นอันตรายได้หากใช้เป็นประจำ ทั้งนี้การหลีกเลี่ยงการใช้ป๊อปเปอร์จึงเป็นทางออกที่ปลอดภัยที่สุด
• • • กลับสู่หน้าหลัก • • •
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
ข้อมูลจาก : mgronline eurekalert melmagazine verywellmind
[…] Poppers คืออะไร ยาเคลิ้มหรือยาพิษ? […]
[…] Poppers คืออะไร ยาเคลิ้มหรือยาพิษ? […]
[…] Poppers คืออะไร ยาเคลิ้มหรือยาพิษ? […]
[…] Poppers ยาเคลิ้มหรือยาพิษ? […]
[…] Popper ยาเคลิ้มหรือยาพิษ? […]