ทำไมหมอดูถึงทายแม่น? ไขข้อสงสัย Barnum Effect

“...คุณพบว่ามันเป็นการยากที่จะเปิดเผยตัวตนที่แท้จริงของคุณออกไปให้คนอื่นๆได้เห็น ทำให้คุณต้องเก็บซ่อนอะไรบางอย่างไว้ ความปรารถนาบางอย่างในชีวิตของคุณเป็นสิ่งที่ดูแล้วไม่น่าจะเป็นไปได้...” ประโยคนี้คาดว่าจะตรงกับอุปนิสัยของใครหลาย ๆ คน นั่นเป็นเพราะหลักจิตวิทยาที่แฝงเอาไว้ยังไงล่ะ

“…คุณพบว่ามันเป็นการยากที่จะเปิดเผยตัวตนที่แท้จริงของคุณออกไปให้คนอื่นๆได้เห็น ทำให้คุณต้องเก็บซ่อนอะไรบางอย่างไว้ ความปรารถนาบางอย่างในชีวิตของคุณเป็นสิ่งที่ดูแล้วไม่น่าจะเป็นไปได้…” ประโยคนี้คาดว่าจะตรงกับอุปนิสัยของใครหลาย ๆ คน นั่นเป็นเพราะหลักจิตวิทยาที่แฝงเอาไว้ยังไงล่ะ

เคยสังเกตุไหมว่าทำไมหมอดู (บางคน) สามารถบอกลักษณะนิสัยหรือเหตุการณ์ในอดีตของเราที่่ผ่านมาได้อย่างถูกต้อง? การดูดวง ทำนายอนาคตเป็นสิ่งที่เราพิสูจน์ไม่ได้จนกว่าจะเกิดขึ้นจริง ส่วนการที่หมอดูทายอุปลักษณ์นิสัยในอดีต มักจะเป็นการใช้วิชาจิตวิทยามาเป็นตัวช่วยในการทำนายทายทัก

• • • กลับสู่หน้าหลัก • • •
man using magnifying glass
man using magnifying glass

หมอดู คู่กับหมอเดา เป็นวลีฮิตติดปากคนไทยที่อยู่คู่กับการดูดวงมาอย่างยาวนาน หากเป็นเรื่องที่ดีก็ต้องบอกว่าแม่น หากเป็นเรื่องไม่มีก็ต้องระมัดระวังตัวเองไว้บ้าง แต่ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแล้วแต่เป็นตัวเรา เราจะต้องอยู่กับปัจจุบันที่เรากำหนดมันขึ้นเอง

บทความในวันนี้ ปรภ ขออธิบายปรากฎการณ์การดูดวงตามหลักของจิตวิทยา ทั้งนี้ การดูดวงเป็นความเชื่อส่วนบุคคลโดยไม่ได้มีเจตนาลบหลู่ครูบาอาจารย์ท่านใด เป็นเพียงการอธิบายปรากฎการณ์ด้วยหลักจิตวิทยาดังนี้ครับ

การบรรยายนิสัยอย่างมีศิลป์และถูกต้องไปกว่าครึ่ง : Barnum Effect

จากการศึกษามากมายหลายครั้ง ทำให้พบหลักเกณฑ์ที่จะทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่าคำทำนายของหมอดูถูกต้อง โดยมีลักษณะดังนี้

  1. ผู้ฟังต้องเชื่อว่าการทำนายนั้น เป็นคำทำนายที่ทำมาเฉพาะเจาะจงเพื่อตัวเราเท่านั้น
  2. ผู้ฟังต้องเชื่อมั่นในตัวผู้ทำนาย ยิ่งผู้ฟังเชื่อมั่นศรัทธาในผู้ทำนายมากเท่าไหร่ จะยิ่งรู้สึกยอมรับในคำทำนายมากขึ้นเท่านั้น
  3. ทำนายในสิ่งที่เป็นความต้องการพื้นฐานของจิตใจของคน (basic psychological need) ไม่ฟันธงนิสัยใจคอลงไปตรง ๆ แบบชัดๆ แต่จะเป็นประโยคที่พูดกว้างๆ ไม่ลงลึกในรายละเอียด เช่น
    “…คุณไม่แน่ใจว่าบางสิ่งที่คุณทำลงไปมันถูกหรือว่าผิด…” ซึ่งแน่นอนว่าเกือบทุกคนก็เคยรู้สึกแบบนี้ เพราะคำทำนายก็ไม่ได้ชี้ชัดลงไปว่า ไอ้ “บางสิ่ง” ที่ว่านี่คืออะไรคนฟังก็จะนำไปคิดต่อให้ตรงกับประสบการณ์ชีวิตตัวเอง
  4. ทำนายในด้านบวก หรืออย่างน้อยก็ไม่เป็นด้านลบมากจนฟังแล้วเหมือนโดนด่า เราจะไม่เคยได้ยินคำทำนายแบบ “…คุณเป็นคนเรียกร้องความสนใจ อยากให้คนอื่นสนใจ แต่คุณก็มักคบคนแบบผิวเผิน ทำให้เพื่อนคุณหลายคนรู้สึกว่าคุณเป็นคนไม่จริงใจ…” อะไรแบบนี้ เพราะถึงแม้ว่าอาจจะถูกต้องทุกประโยค ก็คงไม่มีใครอยากยอมรับว่ามันจริง
Photo by Aditya Saxena on Unsplash

Barnum Effect คืออะไร

Barnum Effect (หรือเรียกได้อีกอย่างว่า Forer effect) เป็นปรากฏการณ์ที่ตั้งตามชื่อของ Phineas Taylor Barnum ซึ่งเป็นนักแสดงและเจ้าของละครสัตว์ โดย Barnum เคยตั้งข้อสังเกตไว้ว่าจะมีประโยคบางประโยคหรือคำพูดบางอย่างที่สามารถเข้าได้กับทุกคน หรือพูดแบบภาษาทั่วไปคือมัน “คลิก” กับทุกคน ทำให้คนฟังรู้สึกว่า มันช่างตรงกับเราเหลือเกิน ทั้งนี้ Barnum Effect จะถูกนำมาอธิบายในกรณีที่หมอดูทำนายอะไรที่เหมือนจะเป็นนิสัย หรือความรู้สึกนึกคิดของเราได้ถูกต้องทั้ง ๆ ที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน

ในปีค.ศ. 1948 Bertram R. Forer นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ทำการทดลองกับนักศึกษา 39 คน (ทำให้บางคนก็เรียกว่า Forer effect แทน Barnum effect) โดยพานักศึกษาเข้ามานั่งในห้อง และหลังจากนั้นก็บอกกับนักศึกษาว่าจะใช้ความรู้ความสามารถของเขาในการวิเคราะห์ลักษณะอุปนิสัยของแต่ละคนออกมา โดยจะเขียนใส่กระดาษแล้วยื่นให้แต่ละคนอ่าน และเมื่อนักศึกษาอ่านคำวิเคราะห์ (ทำนาย) นิสัยของตัวเองแล้ว จะต้องให้คะแนนความแม่นยำของการทำนาย โดยสามารถให้คะแนนได้ระหว่าง 0-5 ซึ่ง 0 คะแนนหมายถึง แย่มาก มั่วสนิท ไม่ตรงเลย ส่วน 5 คะแนนคือ แม่นมาก

ผลการทดลองออกมาพบว่า Forer ได้คะแนนรวมเฉลี่ยสูงถึง 4.26 คะแนน โดยนักศึกษาจำนวนกว่า 40% ให้คะแนนเต็ม 5 คะแนน แต่เมื่อทุกคนแลกใบวิเคราะห์กันอ่านก็ต้องอึ้งกันเป็นแถบเพราะทุกใบมันเขียนเหมือนกันหมด!

ตัวอย่างคำทำนายของ Forer

“…คุณอยากให้คนอื่นชื่นชมคุณ แต่หลายครั้งคุณก็มักจะโทษตัวเองในบางสิ่งบางอย่างที่ได้ทำไป คุณเป็นผู้ที่มีศักยภาพที่ดีเพียงแต่ยังไม่ได้ถูกนำออกมาใช้อย่างเต็มที่ ภายนอกคุณอาจจะดูเข้มแข็งและควบคุมตัวเองได้ แต่คุณก็ยังมีความกังวลและไม่มั่นใจอยู่ภายในใจ มีหลายครั้งที่คุณรู้สึกสับสนว่าสิ่งที่คุณได้ทำไปแล้วมันถูกต้องหรือไม่…”

“…คุณพบว่ามันเป็นการยากที่จะเปิดเผยตัวตนที่แท้จริงของคุณออกไปให้คนอื่นๆได้เห็น ทำให้คุณต้องเก็บซ่อนอะไรบางอย่างไว้ ความปรารถนาบางอย่างในชีวิตของคุณเป็นสิ่งที่ดูแล้วไม่น่าจะเป็นไปได้…”

“…เป้าหมายสำคัญอย่างหนึ่งในชีวิตของคุณคือความรู้สึกมั่นคงในชีวิต…”

ประโยคลักษณะแบบนี้ มักจะทำนายในสิ่งที่เรียกว่าเป็น ความต้องการพื้นฐานของจิตใจคน หรือที่เรียกว่า basic psychological need ซึ่งในทฤษฏีจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม (humanistic psychology) เชื่อว่าคนทุกเรามีความปรารถนา บางอย่างที่เป็นพื้นฐาน เป็นสิ่งที่ทุกคนอยากได้ และเป็นสากลคือเหมือนกันในทุกเชื้อชาติ ทุกเพศ ทุกวัฒนธรรม

สรุป

ความปรารถนาเหล่านี้ได้แก่ ความอยากเป็นที่รัก (อยากให้คนอื่นรัก) ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย ความสงบสุข ความเป็นอิสระ และความรู้สึกว่าตัวเองมีค่า เป็นต้น ทำให้เมื่อทำนายในสิ่งเหล่านี้ คนส่วนใหญ่ก็จะรู้สึกว่ามันตรงนั่นเอง

• • • กลับสู่หน้าหลัก • • •

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
ที่มา : หมอคลองหลวง


บทความล่าสุดในหมวด Lifestyle

• • •

หลักจิตวิทยา สร้างคำตอบรับจากผู้ฟัง

• • •


Leave a Reply

%d bloggers like this: