ในยุคที่ปัจจุบันมีผู้ป่วยด้วยอาการซึมเศร้าอยู่มากมาย แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่อยู่ในอาการเศร้า และคิดไปเองว่าป่วยด้วยโรคซึมเศร้า และกลายเป็นการเรียกร้องความสนใจจากคนรอบข้างแทน จนผู้ที่ป่วยด้วยโรคซึมเศร้าถูกมองเหมารวมไปหมด ดังนั้นจึงอยากให้ทุกคนเข้าใจกับผู้ที่อยู่กับอาการซึมเศร้าที่แท้จริง
โรคซึมเศร้า ถือเป็นภัยเงียบด้านสุขภาพ เกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง ซึ่งเกิดขึ้นได้กับทุกอาชีพ ทุกวัย ปรภ ในฐานะที่เป็นหนึ่งในผู้ที่มีอาการซึมเศร้าและพบแพทย์เป็นประจำ
• • • กลับสู่หน้าหลัก • • •

ผู้ที่ป่วยด้วยโรคซึมเศร้าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมค่อนข้างมาก ทั้งในด้านอารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม รวมไปถึงอาการทางร่างกายต่างอื่นๆ เช่น นอนไม่หลับ กินน้อยหรือมากจนเกินไป เป็นต้น นอกจากนี้จากคนที่ชอบพูด ชอบคุย ชอบออกไปไหนมากไหนกับเพื่อน ดูหนัง ฟังเพลง ทุกอย่างจะค่อยๆ เปลี่ยน หรือกับบางคนอาจจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
เมื่อเปลี่ยนแล้วก็เรียกได้ว่าเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือโดยสิ้นเชิง อาการเหล่านี้หากรู้ตัวเองก็ต้องรีบปรึกษาแพทย์เพื่อปรับวิธีคิดและอยู่อย่างเข้าใจกับอาการซึมเศร้าของตัวเอง แต่หากคนสนิทมีอาการดังกล่าวไม่อยากให้นิ่งนอนใจ เพราะเขาอาจกำลังป่วยเป็นโรคซึมเศร้าอยู่ก็ได้
อยากให้ทุกคนที่อ่านบทความนี้ใช้ชีวิตอยู่อย่างเข้าใจกับอาการซึมเศร้าของตัวเอง อย่ามองคนอื่นหรือนำคนอื่นมาเปรียบเทียบ เพราะแต่ละคนมีอาการที่แตกต่างกัน รวมไปถึงการรักษาที่จะต้องวินิจฉัยโดยแพทย์เท่านั้น

อาการที่สังเกตผู้เป็นโรคซึมเศร้า
- มีอารมณ์เศร้า หดหู่ ท้อแท้ ซึม หงอย ทั้งที่ตัวเองรู้สึกหรือคนอื่นก็สังเกตเห็น
- เบื่อ ไม่อยากทำอะไร หรือทำอะไรก็ไม่สนุกเพลิดเพลินเหมือนเดิม
- เบื่ออาหาร หรือกินมากเกินไป
- หลับยาก หลับ ๆ ตื่น ๆ หรือนอนหลับมากไป
- คิดช้าพูดช้า ทำอะไรช้าลง สมาธิความคิดอ่านช้าลง
- หงุดหงิด กระวนกระวาย
- รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง
- รู้สึกตนเองไร้ค่า
- คิดไม่อยากมีชีวิตอยู่ หรืออยากทำร้ายตนเอง
…เป็นต้น
“…ผู้ป่วยแต่ละคนจะมีรายละเอียดและวิธีรักษาที่แตกต่างกัน แต่จะมีจุดร่วมที่สามารถทำความเข้าใจและช่วยให้บุคคลรอบข้างมีวิธีปฏิบัติเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีกำลังใจดีขึ้น…”

นพ.ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล อดีตนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมสุขภาพจิตบอกถึงวิธีปฏิบัติสำหรับผู้เป็นโรคซึมเศร้าในระดับต่าง ๆ ดังนี้
ระดับต่างๆ ของโรคซึมเศร้า
- อาการซึมเศร้าเล็กน้อย ควรเน้นการปรับกิจวัตร หากมีอาการเศร้าเรื้อรังที่เป็นมานาน มักเกิดจากนิสัยขี้กังวลและการขาดทักษะจัดการอารมณ์และจัดการสถานการณ์ชีวิต ควรฝึกทักษะจัดการปัญหาเชิงรุก ทักษะจัดการอารมณ์ การสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี สร้างความรู้สึกดีและความเชื่อมั่นให้กับตัวเอง
- อาการซึมเศร้ามีปานกลาง ยาและการปรับกิจวัตรจะช่วยได้มาก โดยเฉพาะการกินอาหารที่ดีกับสุขภาพ การนอนเพียงพอ การออกกำลังกายให้มากพอ และการทำกิจกรรมผ่อนคลาย ถ้าเป็นไปได้ควรฝึกการมีสติรู้ทันความคิดนึกประยุกต์ใช้สติเพื่อการดูแลเรื่องอารมณ์ของตัวเองระวังการมองอารมณ์ลบว่าเป็นสิ่งไม่ดี ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์โกรธหรืออารมณ์เศร้า เพราะอารมณ์เป็นธรรมดาของชีวิตคนเรา สิ่งสำคัญคืออารมณ์บอกอะไรเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่ในใจเรา
- อาการซึมเศร้ามาก ควรเน้นให้กินยาสม่ำเสมอ และให้กำลังใจว่าอาการจะดีขึ้น หากเป็นไปได้ ควรเดินออกกำลังกายเบา ๆ ช่วงแสงแดดอ่อน ทำกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลาย เท่าที่พร้อมจะทำ

หากคนรู้จักอยากฆ่าตัวตาย
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความคิดฆ่าตัวตายไม่ควรละเลยและคิดไปเองว่า คนที่พูดถึงความคิดฆ่าตัวตายเป็นการเรียกร้องความสนใจ คงไม่ลงมือทำจริง แต่!
“…การบอกถึงความคิดฆ่าตัวตาย สะท้อนถึงสิ่งที่อยู่ในใจ ที่ทำให้เขาสิ้นหวังกับการมีชีวิต…”
เป็นสัญญาณเตือนให้รีบขอความช่วยเหลือ ควรให้จิตแพทย์หรือคนทำงานด้านสุขภาพจิตได้ช่วยประเมินความเสี่ยงและร่วมกันกำหนดแนวทางช่วยเหลือ
อย่าละเลยคนที่บอกว่าจะฆ่าตัวตาย หรือโพสต์สถานะหมดกำลังใจบนโซเชียลมีเดีย เพราะนั่นอาจเป็นโอกาสสุดท้ายที่คุณอาจจะได้ข่าวของเขา

โรคซึมเศร้าสามารถรักษาให้หายได้ แต่ขั้นแรกจะต้องเริ่มจากความเข้าใจในโรคนี้ก่อน ซึ่งไม่ใช่แค่ตัวผู้ป่วยเองแต่ยังรวมถึงคนรอบข้างด้วย โดยเฉพาะคนในครอบครัวที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยมากที่สุด จะช่วยได้มากด้วยการให้ความเข้าใจและใส่ใจอย่างถูกวิธี โรคซึมเศร้าอาจรุนแรงจนถึงระดับที่นอกจากจะกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ยังอาจร้ายแรงถึงขั้นเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยตัดสินใจจบชีวิตตัวเองได้
ทั้งนี้คนทั่วไปมักจะคิดว่าตนเข้าใจโรคซึมเศร้า เพราะเคยรู้สึก ‘เศร้าใจ’ เป็นบางช่วงเวลา หรือเคยมีบางสิ่งบางอย่างทำให้เขารู้สึกเสียใจมาบ้างและสามารถรับมือได้ แต่ที่จริงแล้วไม่ใช่
กรณีผู้ป่วยซึมเศร้าเขาอาจไม่มีพลังและความเชื่อมั่นว่าตัวเองจะดีขึ้นได้ ไม่มีแรงไปออกกำลังกาย ไม่อยากทำอะไร วิธีปฏิบัติตัวต่อกันจึงควรเป็นไปด้วยความเข้าใจในธรรมชาติของโรค อย่าเพิ่งตัดสินว่า การที่เขาไม่ทำ หรือทำไม่ได้ แปลว่า เขาขี้เกียจ ไม่มีวินัย ไม่ยอมช่วยเหลือตัวเอง หรือเรียกร้องความสนใจ ความคิดเช่นนี้กลับจะยิ่งทำให้เราปฏิบัติต่อเขาในแบบตัดสิน วิพากษ์วิจารณ์ บังคับ และทำให้อาการแย่ลงได้

วิธีปฏิบัติตัวต่อผู้ป่วยซึมเศร้า คือ ให้กำลังใจ ชวนทำกิจกรรมร่วมกัน พูดคุยแบบรับฟัง ไม่ตัดสิน ไม่ต้องพยายามให้คำตอบว่าควรทำอย่างไร ในกรณีของสมาชิกในครอบครัว ถ้าไม่รู้ว่าจะพูดอย่างไร ก็ให้ใช้การสัมผัสและการแสดงความรักความห่วงใยผ่านการกระทำ เช่น จัดเวลาทำกิจกรรมที่ชอบร่วมกัน
ตัวอย่างคำพูดให้กำลังใจที่ดี
- อยากให้ฉันกอดไหม
- เธอไม่ได้อยู่คนเดียวนะ
- เธอสำคัญสำหรับเสมอนะ
- ฉันจะอยู่ข้างๆ เธอนะ
- ฉันอาจไม่เข้าใจ แต่เข้าใจเธอนะ
- ฉันรักเธอนะ
คำพูดที่ควรเลี่ยงในการให้กำลังใจ
- ลืมๆ มันไปซะเถอะ
- ไม่อยากรู้สึกแบบนี้ก็เลิกคิดสิ
- ไม่เป็นไรหรอกเดี๋ยวก็ผ่านไป
- จะเศร้าไปถึงไหนกัน
- เข้าใจว่ารู้สึกอย่างไรฉันก็เคยเป็น
- เลิกเศร้าได้แล้ว
อย่าลืมว่าคำบางคำฟังแล้วมีกำลังใจได้ความรู้สึกที่ดี แต่คำอีกหลายๆ คำก็สามารถทิ่มแทงจิตใจให้น้ำตาตกได้เช่นกัน
สำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าคำพูดที่ควรหลีกเลี่ยง คือ คำพูดในทางตำหนิ วิพากษ์วิจารณ์ คำพูดกระตุ้นให้กำลังใจที่เน้นให้คิดบวกว่าต้องทำได้สิ ๆ เพราะกลับจะยิ่งกระตุ้นให้เขารู้สึกล้มเหลวมากยิ่งขึ้น

สรุป
นอกเหนือจากการกินยาเป็นประจำแล้ว การอยู่อย่างเข้าใจกับอาการซึมเศร้าของตัวเอง การปรับกิจวัตรประจำวันโดยเพิ่มกิจกรรมทางกายเข้าไปจะช่วยให้อาการของแต่ละคนดีขึ้น ทั้งนี้ขอแนะนำให้ผู้ที่มีอาการซึมเศร้าปรึกษาแพทย์ หรือจิตแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้านทั่วประเทศ อย่าลืมสำรวจความรู้สึกของคนรอบข้างของคุณให้ดี และอย่าลืมว่า การเป็นโรคซึมเศร้าไม่ใช่โรคที่น่ากลัวหรือต้องการความสงสาร แค่ต้องการความเข้าใจเท่านั้นก็พอ
• • • กลับสู่หน้าหลัก • • •
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
ให้สัมภาษณ์โดยนพ.ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล อดีตนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมสุขภาพจิต
ข้อมูลบางส่วนจากมูลนิธิหมอชาวบ้าน และสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์
[…] อยู่อย่างเข้าใจกับอาการซึมเศร้า […]
[…] อยู่อย่างเข้าใจกับอาการซึมเศร้า […]
[…] อยู่อย่างเข้าใจกับอาการซึมเศร้า […]
[…] อยู่อย่างเข้าใจกับอาการซึมเศร้า […]
[…] อยู่อย่างเข้าใจกับอาการซึมเศร้า […]