การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันด้วยการสวมถุงยางอนามัยล้วนเสี่ยงด้วยกันทั้งสิ้น แต่การมีเพศทางทวารหนักเสี่ยงกว่าการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดเนื่องจากมีความบอบบางและง่ายต่อการที่ถุงยางอนามัยจะฉีกขาด แต่กรณีเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ฝ่ายรุก หรือฝ่ายรับ ฝ่ายไหนที่จะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีมากกว่ากัน?
• • • กลับสู่หน้าหลัก • • •

การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักถือเป็นช่องทางการติดเชื้อเอชไอวีที่มีความเสี่ยงที่สุดรองจากการเปลี่ยนถ่ายเลือด แต่ความเสี่ยงดังกล่าวจะมากหรือน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับว่าคุณเป็นฝ่ายรุกหรือฝ่ายรับในกิจกรรมครั้งนั้นด้วย
จากการศึกษาโดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐฯ (Centers for Disease Control and Prevention – CDC) พบว่า เมื่อเทียบปริมาณความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีโดยประมาณจากการสัมผัสเชื้อแต่ละครั้ง ในการรับเลือด 1 ยูนิต ฝ่ายรับมีโอกาส 1-30% ในขณะที่ ฝ่ายรุกมีโอกาส 0.1-10% สรุปคือ ฝ่ายรับมีความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีมากกว่าฝ่ายรุก
นอกเหนือจากการติดเชื้อเอชไอวียังมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ อีกมากที่ทุกคนควรระวัง ดังนั้นการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนควรกระทำ อย่างที่เรารู้ดีว่าปัจจุบันมียา PrEP ที่สำหรับใช้กินก่อนการมีสัมพันธ์แบบเสี่ยง ซี่งจะช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อ HIV ได้ ส่วนยา PEP เป็นยาฉุกเฉินที่ใช้สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงหลังการมีเพศสัมพันธ์ แต่อย่างไรก็ตาม ทุกการป้องกันไม่ได้ผล 100% อ่านเรื่อง PrEP PEP ต่างกันอย่างไร ใครควรกิน คลิก
ใครเสี่ยงกว่ากัน?
จากการศึกษาโดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐฯ พบว่า ผู้ที่เป็นฝ่ายรับมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ HIV มากกว่า เนื่องจากผิวหนังในทวารหนักมีความบอบบางกว่าผิวหนังของอวัยวะเพศชาย การเสียดสีที่เกิดขึ้นโดยไม่ป้องกันด้วยถุงยางอนามัยจึงทำให้ฝ่ายรับมีโอกาสที่จะบาดเจ็บได้มากกว่า รวมไปถึงความเสี่ยงในการติดเชื้อจึงมากกว่าด้วย
สำหรับการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก ผู้ที่เป็นฝ่ายรับมีความเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี 1.38% โดยจากสถิติ การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักกับคนที่มีเชื้อเอชไอวีโดยเป็นฝ่ายรับ ทำให้มีโอกาสติดเชื้อ เอชไอวี 138 ครั้งจากทุก 10,000 ครั้ง หรือประมาณ 1.38%
ในขณะที่การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักสำหรับผู้ที่เป็นฝ่ายรุกมีความเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวีน้อยกว่าคือ 0.11% โดยจากสถิติแล้วมีโอกาสที่จะติดเชื้อเอชไอวี 11 ครั้งจากทุกๆ 10,000 ครั้ง หรือเท่ากับ 0.11% เรียกได้ว่าผู้ที่เป็นฝ่ายรุกยังถือว่ามีความเสี่ยงในการติดเชื้อน้อยกว่าการเป็นฝ่ายรับนับสิบเท่า

ความเสี่ยงที่ไม่ใช่การร่วมเพศ
การมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ปาก เราถูกเตือนว่าควรสวมถุงยางอนามัยเช่นกัน แต่พวกเราทุกคนรู้ดีว่า การสวมถุงยางอนามัยแล้วทำออรัลเซ็กส์ให้กัน เป็นเรื่องที่แทบจะไม่มีใครชอบ และเกือบทุกคู่ มักจะไม่ใช้ถุงยางอนามัยกับการออรัลเซ็กส์ แต่อย่างไรก็ตามจากการศึกษาเดียวกันพบว่า การทำออรัลเซ็กส์มีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีเช่นกัน แต่น้อยผลการศึกษาอยู่ในเกณฑ์ “น้อย”
โอกาสที่ใครคนใดคนหนึ่งจะติดเชื้อเอชไอวีจากการทำออรัลเซ็กส์นั้นน้อยมาก ทั้งจากสภาวะภายในปากของมนุษย์เองที่เชื้อเอชไอวีไม่สามารถอยู่อาศัยได้ รวมถือความหนาของผิวหนังในปากและคอที่หนากว่าที่อวัยวะเพศ ทำให้โอกาสที่จะเกิดการแพร่เชื้อเอชไอวีผ่านการทำออรัลเซ็กส์มีโอกาสน้อย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายกระทำหรือถูกกระทำ อย่างไรก็ตาม กิจกรรมนี้มักจะเกิดขึ้นร่วมกับกิจกรรมทางเพศในรูปแบบอื่นๆ ด้วย จึงวัดได้ยาก ว่าผู้ที่ติดเชื้อนั้นติดมาจากการทำออรัลเซ็กส์หรือจากกิจกรรมทางเพศอื่นๆ
จากผลการศึกษาเดียวกันพบว่า การกัด การถุยน้ำลาย การใช้เซ็กส์ทอยร่วมกัน การราดของเหลวลงบนลำตัว เช่น อสุจิ น้ำลาย มีโอกาสติดเชื้อแต่อยู่ในเกณฑ์ “น้อยมาก” เพราะโดยทั่วไปแล้ว เชื้อเอชไอวีไม่มีอยู่ในน้ำลายและปาก ดังนั้น การกัด การถุยน้ำลายใส่ การใช้เซ็กส์ทอยร่วมกัน การสัมผัสกับน้ำลายของผู้ติดเชื้อ รวมถึงการจูบ ไม่ถือว่าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการติดเชื้อเอชไอวี

ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้ว ผู้ที่มีเชื้อเอชไอวีอยู่ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถถ่ายทอดเชื้อสู่ผู้อื่นได้เสมอไป เพราะหากผู้ที่มีเชื้อเอชไอวีรับประทานยาต้านไวรัสเป็นประจำ จะทำให้ไม่สามารถตรวจเจอเชื้อเอชไอวี หรือที่เรียกว่า การเกิดกระบวนการ U = U
โดย U ตัวแรกมาจากคำว่า Undetectable (แปลว่าตรวจไม่พบ) ส่วน U ตัวที่สองมาจาก Untransmittable (แปลว่าไม่ถ่ายทอด) ดังนั้น U = U จึงหมายความว่า เมื่อตรวจไม่เจอ (เชื้อเอชไอวี) ก็ไม่สามารถถ่ายทอดเชื้อสู่ผู้อื่นได้
ศาสตราจารย์กิตติคุณนายแพทย์ ประพันธ์ ภานุภาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า “…การที่ผู้มีเชื้อเอชไอวีรับประทานยาต้านไวรัสเป็นประจำ จะทำให้พวกเขาปลอดภัยยิ่งกว่าคนที่ไม่เคยตรวจเลือดและไม่รู้ผลเลือดตนเอง ไม่มีเหตุผลอะไรเลยที่คนในสังคมจะรังเกียจผู้ติดเชื้อ แต่ควรสนับสนุนให้ทุกคนไปตรวจเลือดมากกว่า…”
ผู้ที่ต้องการทราบผลเลือดของตนเองสามารถติดต่อขอรับคำปรึกษาและตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีได้ฟรีปีละ 2 ครั้ง ได้ที่โรงพยาบาลทุกแห่งภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยแสดงบัตรประชาชน และสามารถรับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสได้ฟรีตามสิทธิ ส่วนเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี สามารถรับบริการปรึกษาและตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีได้โดยไม่ต้องขอคำยินยอมจากผู้ปกครอง

สรุป
การรู้ผลเลือดตัวเองยิ่งเร็วจะยิ่งสามารถรับยาได้เร็ว และลดอัตราความเสี่ยงอื่นๆ ซึ่งหากอาจเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่เชื้อเอชไอวี ได้แก่ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อเอชไอวีเฉียบพลันในระยะสุดท้ายและมีปริมาณไวรัสสูง ปัจจัยที่อาจลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอชไอวีได้แก่ การใช้ถุงยางอนามัย การขลิบอวัยวะเพศชาย การป้องกันด้วยรับประทานยา PrEP อย่างไรก็ตามอย่าลืมว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไม่ได้มีเพียงเอชไอวีอย่างเดียว เพราะยังมีโรคอื่นๆ ที่สร้างความเสียหายให้กับสุขภาพของเราได้อีก เช่น หนองใน ซิฟิลิส เป็นต้น
• • • กลับสู่หน้าหลัก • • •
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
ข้อมูลบางส่วนจาก Centers for Disease Control and Prevention (CDC)
และบทสัมภาษณ์จากศาสตราจารย์กิตติคุณนายแพทย์ ประพันธ์ ภานุภาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย
[…] รุกกับรับ ใครเสี่ยงกว่ากัน […]
[…] รุกกับรับ ใครเสี่ยงกว่ากัน […]
[…] รุกกับรับ ใครเสี่ยงกว่ากัน […]
[…] รุกกับรับ ใครเสี่ยงกว่ากัน […]
[…] รุกกับรับ ใครเสี่ยงกว่ากัน […]
[…] รุกกับรับ ใครเสี่ยงกว่ากัน […]
[…] รุกกับรับ ใครเสี่ยงกว่ากัน […]
[…] รุกกับรับ ใครเสี่ยงกว่ากัน […]
[…] รุกกับรับ ใครเสี่ยงกว่ากัน […]
[…] รุกกับรับ ใครเสี่ยงกว่ากัน […]
[…] รุกกับรับ ใครเสี่ยงกว่ากัน […]
[…] รุกกับรับ ใครเสี่ยงกว่ากัน […]
[…] รุก-รับ ใครเสี่ยงกว่ากัน […]
[…] รุกรับ ใครเสี่ยงกว่ากัน? […]
[…] รุกรับ ใครเสี่ยงกว่ากัน? […]
[…] รุกรับ ใครเสี่ยงกว่ากัน? […]
[…] รุกรับ ใครเสี่ยงกว่ากัน? […]
[…] รุกรับ ใครเสี่ยงกว่ากัน? […]