PrEP PEP ต่างกันอย่างไร ใครควรกิน

ด้วยเทคโนลีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าที่ทำให้เรารู้จักกับยาเพร็พ (PrEP) และยาเป๊ป (PEP) แต่มันต่างกันอย่างไรแล้วเหมาะสำหรับใคร ปรภ จะพาไปรู้จักกับสองยาที่ควรรู้จักเพื่อลดอัตราการติดเชื้อ HIV

ด้วยเทคโนลีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าที่ทำให้เรารู้จักกับยาเพร็พ (PrEP) และยาเป๊ป (PEP) แต่มันต่างกันอย่างไรแล้วเหมาะสำหรับใคร ปรภ จะพาไปรู้จักกับสองยาที่ควรรู้จักเพื่อลดอัตราการติดเชื้อ HIV กันครับ

• • • กลับสู่หน้าหลัก • • •
PEP and PrEP in bottle
PEP and PrEP

PrEP ยาเพร็พ กินก่อนเสี่ยงรับเชื้อ

ผู้ที่ได้รับเชื้อ HIV ส่วนใหญ่มักติดจากผู้ที่ไม่รู้ว่าตนเองมีเชื้อ จึงส่งต่อกันผ่านการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกันหรือการป้องกันที่ผิดพลาด ยาเพร็พ (PrEP) จึงเป็นยาสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV แต่ไม่ควรมองว่าเป็นวิธีแรกในการป้องกัน ควรมองว่าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ เมื่อกินยาเพร็พจึงควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง

ยาเพร็พ (PrEP; Pre Exposure Prophylaxis) เป็นยาต้านไวรัสที่สามารถป้องกันเชื้อเอชไอวีในกลุ่มผู้ที่ไม่มีเชื้อ ผู้มีความเสี่ยงสูงควรกินเป็นประจำเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV เหมาะสำหรับผู้ที่ทราบว่าคู่นอนของตนมีเชื้อ HIV ผู้ที่มีปาร์ตี้และไลฟ์สไตล์ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ผู้ที่ใช้ยาเสพติดบางกลุ่ม รวมไปถึงผู้ที่ทำงานบริการทางเพศ

การกินยาเพร็พให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดควรกินต่อเนื่องอย่างน้อย 7 วัน ก่อนมีความเสี่ยงในการรับเชื้อ HIV และกินอย่างสม่ำเสมอทุกวัน หากหยุดกินให้หยุดหลังจากมีความเสี่ยงครั้งสุดท้ายไปแล้ว 1 เดือน ทั้งนี้ยาเพร็พสามารถป้องกันการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ได้เพียง 90% ในกรณีของผู้ที่ใช้ยาเสพติดแบบฉีดสามารถลดความเสี่ยงได้ถึง 70% แต่ก็ยังไม่สามารถป้องกันได้ 100% และยังไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อกามโรคอื่นๆ เช่น โรคหนองใน โรคซิฟิลิส โรคแผลริมอ่อน โรคเริม โรคหูดหงอนไก่ เป็นต้น

two man shirtless in the rain
gay couple

PEP ยาเป๊ป กินหลังเสี่ยงรับเชื้อ

ในปัจจุบันผู้ที่เผชิญความเสี่ยงจากการติดเชื้อ HIV สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับ “ยาเป๊ป” (PEP) ในการเพิ่มโอกาสหลังเผชิญความเสี่ยงการติดเชื้อ HIV เมื่อกินยาครบตามกำหนดสามารถลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ 80%

ยาเป๊ป (PEP; Post Exposure Prophylaxis) คือยาต้านไวรัสเฉินในกรณีมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน หรือถุงยางที่ใช้เกิดฉีกขาด ควรใช้ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น โดยจำเป็นจะต้องกินภายใน 72 ชั่วโมง แต่ในทางปฏิบัติควรกินให้เร็วที่สุด ทั้งนี้ต้องกินติดต่อกันประมาณ 28 วัน โดยสูตรยาจะมีทั้งแบบวันละครั้งและวันละ 2 ครั้ง และจะต้องตรวจหาเชื้อ HIV หลังจากครบกำหนวด และควรตรวจซ้ำหลังจากผ่านไป 3 เดือน และ 6 เดือน

การกินยาเป๊ปไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 100% เนื่องจากปัจจัยที่มีผลต่อการติดเชื้อหลังรับยา PEP ในแต่ละคนต่างกัน เช่น แหล่งที่มาของเชื้อ HIV ปริมาณของ viral load เป็นต้น นอกจากนี้ความสม่ำเสมอในการกินยา ความแข็งแรงของตัวคนไข้ก็ส่งผลต่อโอกาสที่จะติดหรือไม่ติดเชื้อ HIV

สิ่งสำคัญที่สุดคือ หลังพบว่าตนเองมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินความเสี่ยงให้เร็วที่สุด อย่างไรก็ตามกินยาเป๊ปไม่สามารถลดความเสี่ยงการติดเชื้อ HIV แต่จำเป็นจะต้องลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ อย่าปล่อยให้ความสนุกเพียงชั่วคราวทำลายอนาคต สำหรับผู้ที่มีพฤติกรรมความเสี่ยงสูงเป็นประจำควรหมั่นตรวจเลือดและเลือกกินยาเพร็พแทนยาเป๊ปจะดีที่สุด

picture of two man on Silhouette
two man

ข้อควรระวัง

  • ช่วงแรกของการกินยามักจะพบผลข้างเคียงระยะสั้นคือ อาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดหัว เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย อิดโรย แต่อาการเหล่านี้มักจะดีขึ้นหลังกินยาไปได้ประมาณ 1 สัปดาห์
  • เมื่อกินยาเพร็พติดต่อกันเป็นประจำอาจจะส่งผลต่อการทำงานของไต ควรเข้ารับการตรวจเช็คการทำงานของไตทุก 3-4 เดือนเป็นประจำ
  • ในกรณีที่ลืมกินยา หรือกินไม่ตรงเวลา สามารถห่างกันได้ไม่เกิน 6 ชั่วโมง เมื่อนึกออกให้กินทันที แต่หากลืมเกิน 7 วัน ให้เริ่มนับ 1 ใหม่

ประสบการณ์จากผู้เคยกินยาเป๊ปและยาเพร็พ

อารมณ์และความรู้สึกมักอยู่เหนือเหตุผลและการควบคุม ทำให้หลายครั้งความหลงใหลและอารมณ์ใคร่เป็นสาเหตุที่ทำให้หลายคนต้องมานั่งเครียดเพียงเพราะคำพูดเดียว “…ขอสดได้ไหม…” ประโยคที่ดังข้างหูประกอบกับอารมณ์ที่พุ่งพล่าน เป็นต้นเหตุให้หลายคนยอมแต่โดยดี

การมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันนำมาซึ่งความสุขเพียงชั่วคราว แต่สิ่งที่ตามมาไม่มีใครรู้จนกว่าจะได้กลับมานั่งทบทวนเรื่องราวอีกครั้งเมื่อยามมีสติ…ความสนุกเพียงชั่วคราวไม่กี่นาที กับสิ่งที่ต้องแลกมันคุ้มกันหรือไม่?

หลังจากเมื่อพลาดพลั้งไปแล้ว สิ่งที่ต้องทำไม่ใช่เรื่องที่ต้องมานั่งกังวล เครียด หรือทุกข์ใจ แต่ควรหาวิธีการแก้ไข และเรียนรู้จากเหตุการณ์ดังกล่าว สิ่งแรกที่ต้องทำหลังจากเผชิญหน้ากับความเสี่ยงมาคือ “ตั้งสติ” จึงจะเกิด “ปัญญา”

A man portrait in the dark with Silhouette
Portrait in the dark

“…รู้จักยานี้จากเพื่อนครับ ที่กินก็เพราะว่ามีความเสี่ยง จากนิสัยรักสนุก เปลี่ยนคู่นอนบ่อย และครั้งนี้บังเอิญไปพลาดกับคนที่ใช้สารเสพติดมา เพื่อนเลยแนะนำให้ไปปรึกษาแพทย์ และขอรับยาเป๊ปเพื่อป้องกันไว้ก่อน…” พีช นามสมมติ เล่าประสบการณ์ตรงที่เคยกินยาเป๊ปเมื่อครั้งนานมาแล้วให้ฟังว่า “…พอรู้ว่าสิ่งที่ทำไปมันเสี่ยงก็วิตกกังวลมาก แต่ก็ปรึกษาเพื่อนสนิทและได้คำแนะนำให้ไปตรวจ ตอนอยู่หน้าคลินิกคิดอย่างเดียวเลยว่าถ้าเราอาย เราจะไม่ปลอดภัย ทำยังไงก็ได้ แต่เราจะต้องไม่เป็นโรค วินาทีนั้นเลยสลัดความอายทิ้ง ขอแค่ตัวเองปลอดภัยไว้ก่อน…” 

โอ๊ต นามสมมติ เล่าถึงการตัดสินใจที่กินยาเพร็พว่า มีเพศสัมพันธ์กับแฟนที่ติดเชื้อเอชไอวี แม้ว่าทุกครั้งจะสวมถุงยางอนามัย แต่ก็ต้องการหาวิธีป้องกันเพิ่ม เพราะจะรู้สึกอุ่นใจหากเกิดอะไรผิดพลาด และทำให้เราเต็มที่กับการมีเพศสัมพันธ์ได้ 

“…นอกจากนี้ในยุคปัจจุบัน การมีเพศสัมพันธ์แบบชั่วคราวเป็นเรื่องปกติ แต่รู้หน้าไม่รู้ใจ การรู้จักป้องกันเอาไว้ก่อนเป็นสิ่งที่ดีที่สุดครับ…”

นายแพทย์วัชระ พุ่มประดิษฐ์ ผู้อำนวยการ Bangkok Health Hub กล่าว่า “ …อยากให้มองการเจาะเลือดตรวจ HIV เป็นเหมือนการตรวจรักษาโรคเบาหวาน ซึ่งหากผลเลือดเป็นบวกก็จะได้รีบทำการรักษา แต่หากเป็นลบก็จะได้ปรึกษาเรื่องการกินยาเพร็พ…”

ความสนุกชั่วครู่อาจส่งผลต่ออนาคตของคุณ อย่าให้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล เพราะมันอาจนำมาซึ่งภัยร้ายที่เราไม่ทันรู้ตัว การตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอและการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์จะช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศได้

สรุป

อย่างไรก็ตามหากกินยาเพร็พแล้วก็ยังต้องใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้ง ส่วนผู้ที่กินยาเป๊ปหลังมีความเสี่ยงควรเปลี่ยนพฤติกรรม และป้องกันทุกครั้ง แต่หากมีความเสี่ยงสูงควรปรึกษาแพทย์ในการกินยาเพร็พเพื่อลดอัตราเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV นอกจากนี้ในปัจจุบันมูลนิธิต่างๆ มีการขับเคลื่อนเพื่อสนับสนุนให้คนไทยติดต่อขอรับยาเพร็พได้ฟรี ส่วนผู้ที่ต้องการพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาสามารถติดต่อได้ที่ คลินิกนิรนาม หรือค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตเพื่อขอรับบริการสถานพยาบาลใกล้บ้าน

• • • กลับสู่หน้าหลัก • • •

เรื่องโดย ปรภ ไม่ใช่ รปภ

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
ข้อมูลบางส่วนจากเว็บไซต์ ADAM’s Love
ให้สัมภาษณ์โดยนายแพทย์วัชระ พุ่มประดิษฐ์ ผู้อำนวยการ Bangkok Health Hub
คุณโอ๊ต นามสมมติ ผู้ทานยาเพร็พ และคุณพีช นามสมมติ ผู้เคยทานยาเป๊ป

บทความน่าอ่านต่อ

18 Comments

  1. […] นอกจากนี้เกย์ยุคใหม่มีความกลัวการติดเชื้อเอชไอวี และโรคทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ รวมไปถึงความอับอายทำให้เกย์หลายคนไม่มีเซ็กส์ทางประตูหลัง แม้ว่าในปัจจุบันจะมียา PrEP แต่ก็ไม่ช่วยให้คนมีเซ็กส์ทางประตูหลังเพิ่มขึ้น นั่นเป็นเพราะยา PrEP ไม่ได้ช่วยลดความเจ็บปวดเวลาที่ฝ่ายรับเปิดประตูต้อนรับฝ่ายรุก อ่านบทความเรื่อง PrEP PEP ต่างกันอย่างไร… […]

  2. […] อย่างไรก็ตามในยุคนี้มีเทคโนโลยีการป้องกันเอชไอวีที่มาในรูปแบบของยาต้าน ยา PrEP ยา PEP เป็นต้น ซึ่งการมีตัวยานี้ รวมไปถึงการมีอยู่ของแอปพลิเคชั่นเกย์ ทำให้หลายคนมีเพศสัมพันธ์กันโดยไม่ป้องกันมากขึ้น ทำความรู้จักกับยา PrEP PEP ต่างกันอย่างไร ใครควรกิน […]

Leave a Reply

%d bloggers like this: